การศึกษาลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของไก่กระดูกดำฟ้าหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของลักษณะซากของไก่กระดูกดำฟ้าหลวง ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างลูกไก่กระดูกดำที่ได้จากการจับคู่ผสมพ่อแม่พันธุ์ของไก่กระดูกดำฟ้าหลวง 1 (MA) และไก่กระดูกดำฟ้าหลวง 2 (MJ) วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design) จากการแบ่งกลุ่มคู่ผสมเป็น 4 คู่ผสม กลุ่มที่ 1 (MA x MJ) กลุ่มที่ 2 (MA x MA) กลุ่มที่ 3 (MJ x MA) และกลุ่มที่ 4 (MJ x MJ) โดยศึกษาในลูกไก่เพศผู้และเพศเมียที่มีอายุ 16 สัปดาห์ที่ได้จากแต่ละกลุ่มทดลองจำนวน 48 ตัว ผลการศึกษาพบว่าในส่วนของเปอร์เซ็นต์ซาก และองค์ประกอบของซากในไก่กระดูกดำสายพันธุ์ฟ้าหลวงเพศผู้และเพศเมียที่อายุ 16 สัปดาห์ที่ได้จากคู่ผสมที่ต่างกันไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในทุกกลุ่มทดลอง แต่อย่างไรก็ตามในด้านคุณภาพเนื้อพบว่าค่า pH ที่ 24 ชั่วโมงของเนื้อสะโพกในไก่กระดูกดำฟ้าหลวงกลุ่มที่มีพ่อพันธุ์ MJ มีค่าสูงกว่ากลุ่มคู่ผสมอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อีกทั้งไก่กระดูกดำฟ้าหลวงกลุ่มคู่ผสม MA x MA พบว่าการสูญเสียน้ำจากการทำให้สุกของเนื้ออกที่น้อยกว่าในกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าลูกไก่กระดูกดำฟ้าหลวงจากการจับคู่ผสมพ่อแม่พันธุ์ของไก่กระดูกดำฟ้าหลวงระหว่างพ่อแม่พันธุ์สาย MA และสาย MJ ไม่มีความแตกต่างกันทางด้านลักษณะซาก ในขณะที่การใช้พ่อแม่พันธุ์สาย MA ส่งผลดีในด้านของคุณภาพเนื้อ ซึ่งจะเป็นทางเลือกในจับคู่ผสมที่หลากหลายขึ้นเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงไก่กระดูกดำฟ้าหลวงแก่เกษตรกรที่สนใจได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมปศุสัตว์. 2564. หนังสือข้อมูลจำนวนปศุสัตว์ในประเทศไทย ประจำปี 2560-2564. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, กรมปศุสัตว์. กรุงเทพฯ.
ชัยณรงค์ คันธพนิต. 2529. วิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตรศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
ไชยวรรณ วัฒนจันทร์, อาภรณ์ ส่งแสง, สุธา วัฒนสิทธิ์, พิทยา อดุลยธรรม และเสาวคนธ์ วัฒนจันทร์. 2547. คุณภาพซาก องค์ประกอบเคมี ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะเนื้อสัมผัสของไก่คอล่อนและเนื้อไก่พื้นเมือง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว.). สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ. 2550. การประเมินลักษณะเนื้อสัมผัสในอาหาร. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 3(1): 6-13.
ปภาพินท์ พุทธรักษา. 2554. ผลของระบบการเลี้ยงแบบปล่อยต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตลักษณะซากและคุณภาพเนื้อของไก่พื้นเมือง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ปริญญา กัญญาคำ, ศุภศิษฏ์ บุญนวล, อำนวย เลี้ยวธารากุล, นุชา สิมะสาธิตกุล และสัญชัย จตุรสิทธา. 2549. คุณภาพซากและเนื้อทางอ้อมของไก่เบรส และไก่กระดูกดำ. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44. (หน้า 37-44). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ปิยะ เปี่ยมยา, ขจร นิติวรารักษ์, ธุวานนท์ บุญเกิด, จุฬากร ปานะถึก และวินัย แก้วละมุล. 2562. การศึกษาสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพเนื้อ คุณภาพซาก และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1 ที่เลี้ยงด้วยอาหารไก่พื้นเมืองสำเร็จรูปและอาหารผสมเอง. แก่นเกษตร. 47(6): 1203-1212.
วัชรพงษ์ วัฒนกูล, นครินทร์ พริบไหว, นิราภรณ์ ชัยวัง, ณัฐวุฒิ ครุฑไทย, พศิน มรุปัณฑ์ธร และกุลิสรา มรุปัณฑ์ธร. 2566. ประสิทธิภาพการผลิตและลักษณะสัณฐานวิทยาของไก่แม่ฮ่องสอนเมื่อเทียบกับไก่ประดู่หางดำ ไก่ไข่เพศผู้และไก่เนื้อ. แก่นเกษตร. 51(5): 842-855.
ศิริพันธ์ โมราถบ, อำนวย เลี้ยวธารากุล และจเร หลิมวัฒนา. 2548. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองของท้องถิ่น (ไก่ชี้ฟ้า) สำหรับเลี้ยงในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เชียงใหม่ มูลนิธิโครงการหลวง. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:134305.
สัญชัย จตุรสิทธา, รัชนีวรรณ เขียวสะอาด, อังคณา ผ่องแผ้ว, อำนวย เลี้ยวธารากุล, ศุภฤกษ์ สายทอง, ทัศนีย์ อภิชาติสรางกุล และวราภรณ์ เหลืองวันทา. 2547. คุณภาพซากและเนื้อทางอ้อมของไก่พื้นเมืองและไก่บ้านไทยในเพศและน้ำหนักต่างกัน. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 466 หน้า.
สัญชัย จตุรสิทธา, อภิรักษ์ เพียรมงคล และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2555. โครงการ คุณภาพเนื้อ กลิ่น และรสชาติของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ 1. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (สกว.). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
สัญชัย จตุรสิทธา. 2553. เทคโนโลยีเนื้อสัตว์. พิมพ์ครั้งที่2. โรงพิมพ์มิ่งเมือง, เชียงใหม่. 367 หน้า.
อุดมศรี อินทรโชติ, ไสว นามคุณ, นิพนธ์ วิทยากร และอำนวย เลี้ยวธารากุล. 2548. การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมืองของท้องถิ่น (ไก่ฟ้าหลวง) สำหรับเลี้ยงในเขตพื้นที่สูง ภาคเหนือของประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ตามโครงการวิจัยที่ 3045-3275.
Budi, T., W. Singchat, N. Tanglertpaibul, W. Wongloet, A. Chaiyes, N. Ariyaraphong, W. Thienpreech, W. Wannakan, A. Mungmee, T. Thong, P. Wattanadilokchatkun, T. Panthum, S. F. Ahmad, A. Lisachov, N. Muangmai, R. Chuenka, P.Prapattong, M. Nunome, W. Chamchumroon, K. Han, S. Pornpipatsiri, T. Supnithi, M. S. Peng, J. L. Han, Y. Matsuda, P. Duengkae, P. Noinafai, and K. Srikulnath. 2023. Thai local chicken breeds, Chee Fah and Fah Luang, originated from Chinese black-boned chicken with introgression of red junglefowl and domestic chicken breeds. Sustainability. 15(8): 6878.
Chaisan, W., and S. Baipong. 2023. Quality of black-boned chicken (Gallus Domesticus) carcass and development to black-boned chicken soup. Journal of KPRU Science Mathematics and Technology. 2(Special Issue): 55-73.
Chaiwang, N., K. Marupanthorn, N. Krutthai, W. Wattanakul, S. Jaturasitha, C. Arjin, K. Sringarm, and P. Setthaya. 2023. Assessment of nucleic acid content, amino acid profile, carcass, and meat quality of Thai native chicken. Poultry Science. 102(11): 103067.
Choi, Y. S., K. S. Park, H. W. Kim, K. E. Hwang, D. H. Song, M. S. Choi, S. Y. Lee, H. D. Paik, and C. J. Kim. 2013. Quality characteristics of reduced-fat frankfurters with pork fat replaced by sunflower seed oils and dietary fiber extracted from makgeolli lees. Meat Science. 93(3): 652-658.
Deng, Y., X. Qu, Y. Yao, M. Li, C. He, and S. Guo. 2024. Investigating the impact of pigmentation variation of breast muscle on growth traits, melanin deposition, and gene expression in Xuefeng black-bone chickens. Poultry Science. 103(6): 103691.
Dorshorst, B., R. Okimoto, and C. Ashwell. 2010. Genomic regions associated with dermal hyperpigmentation, polydactyly and other morphological traits in the Silkie chicken. Journal of Heredity. 101(3): 339-350.
Falconer, D.S. 1989. Introduction to quantitative genetics. 3rd ed. Longman Scientific and Technical, London.
Fletcher, D. L. 1999. Broiler breast meat color variation, pH, and texture. Poultry Science. 78(9): 1323-1327.
Jaturasitha, S. 2012. Meat Technology (4th ed.). Chiang Mai, Thailand: Mingmuang Press. 367 p.
Jiang, X., and A. F. Groen. 2000. Chicken breeding with local breeds in China-a review. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 13(10): 1482-1498.
Khumpeerawat, P., M. Duangjinda, and Y. Phasuk. 2021. Carnosine content and its association with carnosine-related gene expression in breast meat of Thai native and black-bone chicken. Animals. 11(1987): 1-10.
Kralik, G., I. Djurkin, and Z. Kralik. 2014. Quality indicators of broiler breast meat in relation to colour. Animal Science Papers and Reports. 32(2): 173-178.
Kriangwanich, W., P. Piboon, W. Sakorn, K. Buddhachat, V. Kochagul, K. Pringproa, S. Mekchay, and K. Nganvongpanit. 2021. Consistency of dark skeletal muscles in Thai native black-bone chickens (Gallus gallus domesticus). PeerJ. 9: e10728.
Lengkidworraphiphat, P., R. Wongpoomchai, S. Taya, and S. Jaturasitha. 2020. Effect of genotypes on macronutrients and antioxidant capacity of chicken breast meat. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 33(11): 1817.
Lengkidworraphiphat, P., R. Wongpoomchai, T. Bunmee, A. Chariyakornkul, N. Chaiwang, and S. Jaturasitha. 2021. Taste-active and nutritional components of Thai native chicken meat: A perspective of consumer satisfaction. Food Science of Animal Resource. 41(2): 237-246.
Mir, N. A., A. Rafiq, F. Kumar, V. Singh, and V. Shukla. 2017. Determinants of broiler chicken meat quality and factors affecting them: a review. Research and Review: Journal of Food Science and Technology. 54: 2997–3009.
Saenmuang, S., P. Suphatta, and C. Chumnanka. 2020. Extraction and characterization of gelatin from black bone chicken by products. Food Science and Biotechnology. 29(4): 469-478.
SAS Institute Inc. 2023. “The GLIMMIX Procedure” in SAS/STAT® 15.3 User’s Guide. Cary, NC: SAS Institute Inc.
Sun, J., X. Tan, X. Yang, L. Bai, F. Kong, G. Zhao, J. Wen, and R. Liu. 2022. Identification of candidate genes for meat color of chicken by combing selection signature analyses and differentially expressed genes. Genes. 13(2): 307.
Warriss, P.D., L.J. Wilkins, and T.G. Knowles. 1999. The influence of ante-mortem handling on poultry meat quality. In: Poultry Meat Science. Eds. R.I. Richadson and G.C. Mead. 1999. Poultry Science Symposium Series. 25: 217-230.
Xiong, Y. L., C. T. Ho, and F. Shahidi. 1999. Quality characteristics of muscle foods: An overview. Quality attributes of muscle foods. 1-10.
Xu, M., S. Tang, X. Liu, Y. Deng, C. He, S. Guo, and X. Qu. 2023. Genes influencing deposition of melanin in breast muscle of the Xuefeng black bone chicken based on bioinformatic analysis. Genome. 66(8): 212-223.