ผลของการใช้เปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนรำข้าวต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สและการย่อยสลายได้ในหลอดทดลอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เปลือกล้างมันสำปะหลังเป็นเศษเหลือจากกระบวนการปอกเปลือกมันสำปะหลังก่อนที่จะนำไปสกัดแป้งในโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่มีปริมาณมาก เป็นการนำเศษเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์และลดต้นทุนการผลิตสัตว์โดยการหมักด้วยยีสต์ เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนของเปลือกล้างมันสำปะหลัง การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้เปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนรำข้าวต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สและความสามารถในการย่อยสลายได้ในหลอดทดลอง ทำการวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) โดยแบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 4 กลุ่มการทดลอง กลุ่มการทดลองละ 3 ซ้ำ ได้แก่ สัดส่วนรำข้าวต่อเปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์ (Yeast fermented cassava peel, YFCP: Rice bran, RB) คือ 100:0, 90:10, 80:20 และ 70:30 ตามลำดับ ผลการทดลองการใช้เปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนรำข้าว พบว่าค่า a (ส่วนที่ละลายได้ทันที) ค่า b (ส่วนที่ไม่ละลาย) ค่า c (อัตราการผลิตแก๊ส) และค่า (a+b) (ศักยภาพการผลิตแก๊ส) ของทุกกลุ่มทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p > 0.05) การย่อยสลายของวัตถุแห้งและการย่อยสลายของอินทรียวัตถุในหลอดทดลองในชั่วโมงที่ 12 และ 24 หลังการบ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p > 0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้เปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์ทดแทนรำข้าวได้ถึง 30% ในสูตรอาหาร แสดงให้เห็นว่าเปลือกล้างมันสำปะหลังหมักยีสต์มีศักยภาพเพียงพอสำหรับการใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ฉันทานนท์ วรรณเขจร. 2566. สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2566. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,กรุงเทพฯ.
ณัฏฐนันท์ บูรณวณิชวงศ์. 2564. การผลิตเซลล์ยีสต์จากอาหารเพาะเลี้ยงจากพืชเพื่อการผลิตโพรไบโอติกอัดเม็ดแบบฟองฟู่. วิทยานิพนธ์. ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ทรงศักดิ์ จำปาวะดี, อาณัติ จันทร์ถิระติกุล, ปาณิศา ศิลาเกษ, ปรินดา บุญมานนท์ และสิริกาญจน์ ศรีสาระ. 2560. ผลของระดับเปลือกล้างมันสำปะหลังในสูตรอาหารผสมสำเร็จรูปแบบหมักต่อจลศาสตร์การผลิตแก๊สและการย่อยได้ในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 45: 698–704.
นันทนา มูลมาตย์, Makoto Otsuka, ศุภชัย อุดชาชน และกฤตพล สมมาตย์. 2553. การประเมินคุณค่าทางโภชนะและค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้ของรำละเอียด กากเมล็ดนุ่น และกากมะพร้าวในโคเนื้อพื้นเมืองไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 29: 382-388.
บุญฑริกา ปลั่งสูงเนิน, เสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ และณรกมล เลาห์รอดพันธ์. 2562. ผลของการเสริมราข้าวขาวต่อการย่อยสลายในกระเพาะรูเมนและการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อ. วารสารเกษตร. 35: 487-494.
เมฆ ขวัญแก้ว, พิพัฒน์ เหลืองลาวัณย์ และวิศิษฐ์พร สุขสมบัติ. 2553. การใช้เปลือกมันสำปะหลังและกากมันสำปะหลัง เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารหยาบหมัก. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
เมฆ ขวัญแก้ว. 2552. การศึกษาการใช้เปลือกมันสำปะหลังเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตอาหารหยาบหมักสำหรับโคนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.
รัชนี บัวระภา และพรรณพร กลมา. 2561. ผลของยีสต์ Saccharomyces cerevisae ต่อคุณค่าทางโภชนะ และคุณภาพของฟางข้าวหมัก. แก่นเกษตร. 46: 947-954.
วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่, ภานุวัฒน์ คัมภีราวัฒน์, ศุภรินธร์ มหาสวัสดิ์ และวัชระ เมืองนาค. 2555. ผลของการใชเปลือกมันสำปะหลังหมักเป็นแหล่งพลังงานและเยื่อใยในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต และคุณภาพซากของแกะขุนในเขตร้อน. แก่นเกษตร. 17: 257-266.
ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย, สุบรรณ ฝอยกลาง, อนุสรณ์ เชิดทอง, จุฬากร ปานะถึก และจุฑารักษ์ กิติยานุภาพ. 2562. การปรับปรุงคุณภาพของกากถั่วเหลืองเปียกจากโรงงานเต้าหู้ด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47(พิเศษ 1): 131-136.
ศุภกิจ สุนาโท, สุกัญญา คำพะแย และปฏิมา บุตรชา. 2565. การเปรียบเทียบสมรรถนะการผลิตของโคลูกผสมชาร์โรเลส์ที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมครบส่วนที่มีเปลือกมันสำปะหลังหรือกากมันสำปะหลัง. ศูนย์วิจัยและพัฒนามาตรฐานอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง.ขอนแก่น.
ศุภลักษณ์ เข็นสี, ทรงศักดิ์ จำปาวะดี และขนิษฐา เรืองวิทยานุสรณ์. 2562. ผลของระดับเปลือกล้างมันสำปะหลังในสูตรอาหารผสมสำเร็จรูปแบบหมักที่มีหญ้าเนเปียร์ปากช่องเป็นแหล่งอาหารหยาบ ต่อปริมาณการกินได้กระบวนการหมักในกระเพาะหมัก และการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38: 382-390.
สาวิตรี ลิ่มทอง. 2556. พันธุศาสตร์ของยีสต์และแนวทางการใช้ประโยชน์. น. 71-75. ใน: การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 18. Thai Journal of Genetics. 6: 71-75.
สินีนาฏ พลโยราช และเมธา วรรณพัฒน์. 2558. ศักยภาพในการใช้ยีสต์เป็นแหล่งโปรไบโอติกส์ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง. แก่นเกษตร. 43: 191-206.
AOAC. 1995. Official Methods of Analysis of the Association of Official Analysis Chemists. 15thEdition. Association of Official Analytical Chemists. Arlington, AV, USA.
Bitew, D., M. Alemu, A. Tesfaye, and B. Andualem. 2024. Ethanologenic yeasts from Ethiopian fermented beverages and optimization of fermentation conditions. Renewable and Sustainable Energy Reviews. 190. https://doi.org/10.1016/j.rser.2023.114090.
Chemler, J.A., Y. Yanand, and M.A. Koffas. 2006. Biosynthesis of isoprenoids polyunsaturated fatty acids and flavonoids in Saccharomyces cerevisiae. Microbial Cell Factories. 5-20.
Cherdthong, A., and M. Wanapat. 2013. Manipulation of in vitro ruminal fermentation and digestibility by dried rumen digesta. Livestock Science. 153: 94-100.
Denev, S.A., Tz. Peeva, P. Radulova, N. Stancheva, G. Staykova, G. Beev, P. Todorova, and S. Tchobanova. 2007. Yeast cultures in ruminant nutrition. Bulgarian Journal of Agricultural Science. 13: 357-374.
Foiklang, S., M. Wanapat, and T. Norrapoke, 2016. In vitro rumen fermentation and digestibility of buffaloes as influenced by grape pomace powder and urea treated rice straw supplementation. Animal Science Journal. 87: 370–377.
Gunun, P., A. Cherdthong, P. Khejornsart, M. Wanapat, S. Polyorach, W. Kaewwongsa, and N. Gunun, 2023. Replacing concentrate with yeast- or EM-Fermented Cassava Peel (YFCP or EMFCP): Effects on the feed intake, feed digestibility, rumen fermentation, and growth performance of goats. Animals. 13: 551.
Halfen, J., N. Carpinelli, F. A. B. Del Pino, J. D. Chapman, E. D. Sharman, J. L. Anderson, and J. S. Osorio. 2021. Effects of yeast culture supplementation on lactation performance and rumen fermentation profile and microbial abundance in mid-lactation Holstein dairy cows. Journal Dairy Sciences. 104: 11580–11592.
Kalio, G. A. 2019. In vitro gas production from cassava peels supplemented with unconventional nitrogen sources and forages by small ruminants. Journal of Animal Science and Veterinary Medicine. 4: 28-33.
Leite, A.L.M.P., C.D. Zanon, and F.C. Menegalli. 2017. Isolation and characterization of cellulose nanofibers from cassava root bagasse and peelings. Carbohydrate Polymers. 157: 962–970.
Makkar, H.P., M. Blümmel, and K. Becker. 1995. Formation of complexes between polyvinyl pyrrolidones or polyethylene glycols and tannins, and their implication in gas production and true digestibility in in vitro techniques. British Journal of Nutrition. 73: 897-913.
Menke, K. H., L. Raab, A. Salewski, H. Steingass, D. Fritz, and W. Schneider. 1979. The estimation of the digestibility and metabolizable energy content of ruminant feed in stuffs from the gas production when they are incubated with rumen liquor in vitro. The Journal of Agricultural Science. 93: 217-222.
Moncel, B. 2010. “What is yeast?”. Available: http://foodreference.about.com/od/Ingredients_Basics/a/What-Is-Yeast.htm. Accessed Jun.29, 2023.
Odeyemi, S. O., K. O. Iwuozor, E. C. Emenike, O. T. Odeyemi, and A. G. Adeniyi. 2023. Valorization of waste cassava peel into biochar: An alternative to electrically - powered process. Total Environment Research Themes. 6.
Ørskov, E.R., and I. McDonald. 1979. The estimation of protein degradability in the rumen from incubation measurements weighted according to rate of passage. The Journal of Agricultural Science. 92: 499-503.
Rogoski, W., G. N. Pereira, K. Cesca, D. D. Oliveira, and C. J. D. Andrade. 2023. An Overview on Pretreatments for the production of cassava peels‑based xyloligosaccharides: State of art and challenges. Waste and Biomass Valorization. 14: 2115–2131.
Tilley, J.M.A., and R.A. Terry. 1963. A two-stage technique for the in vitro digestion of forage crops. Grass and Forage Science. 18: 104–111.
Van Soest, P.J., J.B. Robertson, and A.B. Lewis. 1991. Methods for dietary fiber, neutral detergent fiber, and nonstarch polysaccharides in relation to animal nutrition. Journal Dairy Sciences. 74: 3583-97.
Wongnen, C., C. Wachirapakorn, C. Patipan, D. Panpong, K. Kongweha, N. Namsaen, P. Gunun, and C. Yuangklang. 2009. Effects of Fermented Total Mixed Ration and Cracked Cottonseed on Milk Yield and Milk Composition in Dairy Cows. Asian-Australasian Journal of Animal Sciences. 22: 1625–1632.
Yafetto, L., G.T. Odamtten, and M. Wiafe-Kwagyan. 2024. Valorization of agro-industrial wastes into animal feed through microbial fermentation: A review of the global and Ghanaian case. Review article. Heliyon. 9: 14814.
Yuangklang, C., T. Wensing, L. Van den Broek, S. Jittakhot, and A.C. Beynen. 2004. Fat digestion in veal calves fed milk replacers low or high in calcium and containing either casein or soy protein isolate. Journal Dairy Sciences. 87: 1051–1056.
Zhang, Y., J. Xie, W.O. Ellis, J. Li, W.O. Appaw, and B.K. Simpson. 2024. Bioplastic films from cassava peels: Enzymatic transformation and film properties. Industrial Crops and Products. 213: 118427.