ปรสิตกลุ่มโมโนจีเนียในปลาบริเวณบึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การติดปรสิตกลุ่มโมโนจีเนียในปลา ซึ่งเป็นปรสิตภายนอกที่สามารถก่อโรคบริเวณผิวลำตัวและเหงือกของปลา ปรสิตกลุ่มนี้มีการแพร่กระจายทั่วไปทั้งในปลาน้ำจืด ปลาน้ำกร่อยและปลาน้ำเค็ม ทำการศึกษาบริเวณบึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยบึงขุนทะเลเป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำตาปี เป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างบึงน้ำจืดกับน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยที่มีอัตลักษณ์และมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ปลา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความชุกการติดปรสิตกลุ่มโมโนจีเนียในปลาบริเวณบึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการสุ่มเก็บตัวอย่างปลาจากชาวประมงพื้นบ้าน ตรวจสอบการติดปรสิต 2 ฤดูกาลในรอบปี 2563 คือฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-เมษายน) และฤดูฝน (กันยายน-พฤศจิกายน) การตรวจสอบปรสิตในปลาทั้งหมด 1,074 ตัว จัดจำแนกได้ 16 วงศ์ 27 สกุล 33 ชนิด มีค่าความชุกการติดเชื้อในฤดูร้อนเป็น 29.01% (150/517) ฤดูฝนเป็น 28.36% (158/557) โดยพบปลาที่ติดปรสิตกลุ่มโมโนจีเนีย 16 ชนิด โมโนจีเนียจัดจำแนกอยู่ใน Order Monopisthocotylea จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ Ciclidogyrus halli, Dactylogyrus sp.I, Dactylogyrus sp.II, Dactylogyrus sp.III, Dactylogyrus sp.IV, Laticola paralatesi, Metahaliotrema ypsilocleithrum, Thaparocleidus siamensis และ Trianchoratus ophicephali โดยปรสิตกลุ่มโมโนจีเนียกินเมือก เลือดของปลา ส่งผลให้ปลาเกิดการตกเลือด เหงือกถูกทำลาย มีการเพิ่มจำนวนเซลล์ผิดปกติ แผ่นหงือกเชื่อมรวมกัน หากมีการติดเชื้อโมโนจีเนียรุนแรงอาจส่งผลให้ปลาตายได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมประมง. 2545. ภาพปลาและสัตว์น้ำของไทย. คุรุสภา. กรุงเทพมหานคร.
จันทร รุ่งเรือง และปติญญา วิวรรณ. 2559. โรคและองค์ประกอบเลือดในปลากะพงขาวที่เลี้ยง ในบ่อดิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. โครงงานนักศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สุราษฎร์ธานี.
ชโลบล วงศ์สวัสดิ์. 2552. ปรสิตวิทยา. ชมพูการพิมพ์, เชียงใหม่.
ธนาภรณ์ สงอินทร์ และพรสรวง เรืองรักษ์. 2561. ปรสิตในปลานิลจิตรลดาที่เลี้ยงในกระชัง: กรณีศึกษาแม่น้ำพุมดวง อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. โครงงานนักศึกษาปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สุราษฎร์ธานี.
ธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล และกิจการ ศุภมาตย์. 2548. ชนิดและการแพร่กระจายของปรสิตปลิงใสในปลาน้ำจืดที่มีศักยภาพในการเลี้ยงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสงขลานครินทร์ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 27: 333–345.
นิรัติศัย เพชรสุภา และสุวิมล นิลรัตน์. 2551. พยาธิสภาพของปลากะพงขาวที่มีปรสิต. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 2: 138–145.
ประไพสิริ สิริกาญจน. 2546. ความรู้เรื่องปรสิตของสัตว์น้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สกายเวิร์ดแอ็ดเวอร์ไทซิ่ง, กรุงเทพมหานคร.
ภาวิณี แก้วตาทิพย์. 2559. ศักยภาพและแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่บึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
วัชริยา ภูรีวิโรจน์กุล. 2556. ปรสิตวิทยาของสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
วุฒิชัย ทองบำรุง และธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล. 2557. ปรสิตโมโนจีเนียนที่พบในปลานิลแดงที่เลี้ยงในกระชัง บริเวณแม่น้ำตาปี จังหวัด นครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 16: 32–40.
ศศิภาพร สุขเงิน และธีรวุฒิ เลิศสุทธิชวาล. 2559. การแพร่กระจายของปรสิตโมโนจีเนียนในปลาน้ำจืดที่สำรวจพบในลุ่มน้ำปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 18: 76–87.
ศุภมาศ ศรีวงศ์พุก และพรอนันต์ ด่านเดิม. 2562. ชนิดและรูปร่างลักษณะในการจำแนกปรสิตปลิงใสในปลากราย. วารสารแก่นเกษตร. 47: 1170–1174.
สายฝน ทิศกองราช, กานดา ค้ำชู และอภินันท์ สุวรรณรักษ์. 2565. ความหลากหลายของชนิดปลาบริเวณบึงขุนทะเล จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 16: 44–55.
สุนัยมา มามะ. 2558. แบคทีเรียและปรสิตที่ก่อโรคในปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch) ที่เลี้ยงในกระชังในแหล่งการเลี้ยงที่ต่างกัน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปัตตานี.
Andersen, P. S., and K. Buchmann. 1998. Temperature dependent population growth of Gyrodactylus derjavini on rainbow trout, Oncorhynchus mykiss. Journal of Helminthology. 72: 9–14.
Adou, Y. E., K. G. Blahoua, T. M. Kamelant, and V. N’Douba. 2017. Prevalence and intensity of gill monogenean parasites of Tilapia guineensis (Bleeker, 1862) in man-made Lake Ayamé 2, Côte d’Ivoire according to season, host size and sex. International Journal of Biological and Chemical Science. 11: 1559–1576.
Benovics, M., Y. Desdevises, R. Sanda, J. Vukic, M. Scheifler, I. Doadrio, C. Sousa-Santos, and A. Simkova. 2020. High diversity of fish ectoparasitic monogeneans (Dactylogyrus) in the Iberian Peninsula: a case of adaptive radiation?. Parasitology. 147: 418–430.
Benovics M., C. Rahmouni, E. Rehulková, F. Nejat, and A. Simkova. 2024. Uncovering the monogenean species diversity of cyprinoid fish in Iraq using an integrative approach. Parasitology. 151: 220–246.
Blazek, R., J. Jarkovsky, B. Koubkva, and M. Gelnar. 2008. Seasonal variation in parasite occurrence and microhabitat distribution of monogenean parasites of gudgeon Gobio gobio (L.). Helminthologia. 45: 185–191.
Boonchot, K., and C. Wongsawad. 2005. A survey of helminths in cyprinoid fish from the Mae Ngad Somboonchon Reservoir, Chiang Mai Province, Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health. 36: 103–107.
Bush, A. O., K. D. Lafferty, J. M. Lotz, and A. W. Shostak. 1997. Parasitology meets ecology on its own terms: Margolis et al. revised. Journal of Parasitology. 83: 575–583.
Cheng, J., H. Zou, M. Li, J. Wang, G. Wang, and W. Li. 2023. Morphological and molecular identification of Dactylogyrus gobiocypris (Monogenea: Dactylogyridae) on gills of a model fish, Gobiocypris rarus (Cypriniformes: Gobionidae). Pathogens. 12: article ID 206.
Cheng, T.M. 1964. The biology of animal parasites. W.B. Saunders Company, London.
Chinabut, S., and L. H. S. Lim. 1993. Seven new species of Dactylogyrus Diesing, 1850 (Monogenea) from Puntius hamilton (Cyprinidae) of Thailand. Raffles Bulletin of Zoology. 41: 47–59.
Froese, R., and D. Pauly. 2013. FishBase. World Wide Web electronic publication, Available: www.fishbase.org. Accessed Jul.14, 2020.
Fujino, T. 1997. Structure and function of the alimentary tract in trematodes. Boca Raton. CRC Press, New York.
Gado, M. S. M., N. B. Mahfouz, E. M. M. Moustafa, and A. M. M. Abd El-Gawad. 2017. Prevalence of monogenetic trematodal diseases in some freshwater fishes at Kafr El-Sheikh Governorate. Life Science Journal. 14: 19–33.
Kritsky, D. C., H. V. Nguyen, N. D. Ha, and R. A. Heckmann. 2016. Revision of Metahaliotrema Yamaguti, 1953 (Monogenoidea: Dactylogyridae), with new and previously described species from the spotted scat Scatophagus argus (Linnaeus) (Perciformes: Scatophagidae) in Vietnam. Systematic Parasitology. 93: 321–335.
Lerssuthichawal, T., W. Maneepitaksanti, and W. Purivirojkul. 2016. Gill monogeneans of potentially cultured Tilapias and first record of Cichlidogyrus mbirizei Bukinga et al., 2012, in Thailand. Walailak Journal of Science and Technology (Agriculture Technology and Biological Sciences). 13: 543–553.
Lim, L. H. S. 1986. New species of Trianchoratus Price et Berry, 1966 (Ancyrocephalidae) from Malayan anabantoid fishes. Parasitology hungaricae. 19: 31–42.
Maneepitaksanti, W., W. Worananthakij, P. Sriwilai, and T. Laoprasert. 2014. Identification and distribution of gill monogeneans from Nile tilapia and red tilapia in Thailand. Chiang Mai Veterinary Journal. 12: 57–68.
Modu, B. M., K. Zaleha, and F. M. Shaharom-Harrison. 2014. Water quality assessment using monogenean gill parasites of fish in Kenyir Lake, Malaysia. Nigerian Journal of Fisheries and Aquaculture. 2: 37–47.
Moreira, J., T. Scholz, and J. L. Luque. 2015. First data on the parasites of Hoplias aimara (Characiformes): description of two new species of gill monogeneans (Dactylogyridae). Acta Parasitologica. 60: 254–260.
Purivirojkul, W., and N. Areechon. 2008. Parasitic diversity of Siluriform fishes in Mekong River, Chiang Rai province. Kasetsart Journal Natural Science. 42: 34–39.
Simkova, A., C. Serbielle, A. Pariselle, M. P. M. Vanhove, and S. Morand. 2013. Speciation in Thaparocleidus (Monogenea: Dactylogyridae) parasitizing Asian pangasiid catfishes. BioMed Research International. 2013: 1–14.
Sornkham, S., P. Laudee, and K. Kamchoo. 2020. Monogenean parasite infections in Asian seabass, Lates calcarifer (Bloch, 1790) during crop production in earthen pond culture at Surat Thani. Thailand. Journal of Food Health and Bioenvironmental Science. 13: 1–9.
Thuy, D.T., and K. Buchmann. 2008. Infections with gill parasitic monogeneans Thaparocleidus siamensis and T. caecus in cultured catfish Pangasius hypophthalmus in southern Vietnam. Bulletin of the European Association of Fish Pathologists. 28: 10–15.
Tingbao, Y., D. C. Kritsky, S. Yuan, Z. Jianying, S. Suhua, and N. Agrawal. 2006. Diplectanids infesting the gills of the barramundi Lates calcarifer (Bloch) (Perciformes: Centropomidae), with the proposal of Laticola n.g. (Monogenoidea: Diplectanidae). Systematic Parasitology. 63: 127–141.
Tripathi, A., S. Rajvanshi, and N. Agrawal. 2014. Monogenoidea on exotic Indian freshwater fishes. 2. Range expansion of Thaparocleidus caecus and T. siamensis (Dactylogyridae) by introduction of striped catfish Pangasianodon hypophthalmus (Pangasiidae). Helminthologia. 51: 23–30.
Yamaguti, S. 1963. Systema helminthum. Vol. IV. The monogenean and aspidocotylea. Interscience Publishers Inc., New York.