การเพิ่มมูลค่าวัสดุอินทรีย์ในท้องถิ่นโดยพัฒนาเป็นวัสดุปลูกกัญชาภายใต้สภาพโรงเรือน ในภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

จักรกฤษณ์ พูนภักดี
พงศ์มนัส กิจประสงค์
จำเป็น อ่อนทอง
จรัสศรี นวลศรี

บทคัดย่อ

กัญชา (Cannabis sativa) เป็นพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพทางการแพทย์ ปัจจุบันมีการปลูกกัญชาในโรงเรือนที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมเพื่อให้ได้กัญชาคุณภาพดี สิ่งสำคัญในการปลูกกัญชาในระบบโรงเรือน คือ วัสดุปลูกซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้พีทมอส อย่างไรก็ตาม พีทมอสเป็นวัสดุที่ต้องนำเข้าและมีราคาแพง ดังนั้น จึงส่งผลให้มีต้นทุนในการผลิตสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวัสดุปลูกที่ผสมจากวัสดุอินทรีย์ที่หาได้ในท้องถิ่นภาคใต้ ได้แก่ ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน ขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ กากตะกอนมูลไก่ และมูลวัว วัสดุดังกล่าวถูกนำมาผสมในสัดส่วนที่แตกต่างกันเพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการดูดใช้ธาตุอาหารของกัญชาที่ระยะเวลา 8 สัปดาห์ภายใต้สภาพโรงเรือนในภาคใต้ รวมทั้งประเมินต้นทุนของวัสดุปลูก ผลการทดลอง พบว่า วัสดุปลูกที่ผสมโดยใช้วัสดุอินทรีย์ข้างต้นมีสมบัติทางเคมีที่แตกต่างกัน ขึ้นกับชนิดและสัดส่วนที่ใช้ผสม วัสดุปลูกส่งเสริมให้กัญชาเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะวัสดุปลูกที่ผสมจากขุยมะพร้าว กาบมะพร้าวสับ และมูลไก่ (GM6) วัสดุปลูกชนิด GM6 ส่งผลให้กัญชามีการเจริญเติบโตดีที่สุด รวมทั้งมีธาตุอาหารหลัก รอง และจุลธาตุในใบใกล้เคียงกับการใช้วัสดุปลูกชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้น การใช้วัสดุปลูกซึ่งพัฒนาจากวัสดุเหลือใช้อินทรีย์ในท้องถิ่นก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้การใช้วัสดุปลูกชนิด GM6 มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้พีทมอสถึง 5 เท่า

Article Details

บท
บทความวิจัย (research article)

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548ก. การจัดการดินและพืชเพื่อปรับปรุงดินอินทรียวัตถุต่ำ. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมพัฒนาที่ดิน. 2548ข. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดิน และการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า เล่มที่ 2. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กรมวิชาการเกษตร. 2548. วัสดุอินทรีย์และปุ๋ยคอกในพื้นที่ทำการเกษตร. สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กริช สิทธิโชคธรรม, อรุณศิริ กำลัง, จันทร์จรัส วีรสาร, และสุริยา สาสนรักกิจ. 2550. ผลของการใส่มูลสัตว์ร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์สุวรรณ 4452. น. 9-16. ใน: การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 4. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2548. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรุงเทพฯ.

จักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2565. เอกสารประกอบการสอนการปลูกพืชไม่ใช้ดิน. สาขาวิชานวัตกรรมการเกษตรและการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

จำเป็น อ่อนทอง และจักรกฤษณ์ พูนภักดี. 2560. คู่มือการวิเคราะห์ดินและพืช. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ปริยานุช จุลกะ, พิจิตรา แก้วสอน และปนัดดา จีนประสม. 2557. ผลของการใช้วัสดุปลูกที่มีส่วนผสมของกากกาแฟต่อการงอกและการเจริญเติบโตของต้นกล้ามะเขือเทศ. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45: 349-352.

มนูญ ศิรินุพงศ์. 2552. การปลูกพืชไม่ใช้ดินสู่การปฏิบัติในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

ศศินิภา องอาจ, พรไพรินทร์ รุ่งเจริญทอง และศุภชัย อำคา. 2563. ชนิดของวัสดุปลูกต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพผลผลิตของแตงเทศ. แก่นเกษตร. 48: 63-68.

สมศรี อรุณินท์. 2542. พืชทนเค็ม. กรมพัฒนาที่ดิน, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สมศักดิ์ มณีพงศ์. 2551. เอกสารคำสอนวิชาการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, นครศรีธรรมราช.

สุทิน ทวยหาญ, เกรียงศักดิ์ ไพรวรรณ, รภัสสา จันทาศรี และสำราญ พิมราช. 2556. การศึกษาวัสดุปลูกจากดินผสมที่เหมาะสมสำหรับผักคะน้า. เกษตรพระวรุณ. 10: 117-124.

อานัฐ ตันโช. 2548. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด, เชียงใหม่.

อิทธิสุนทร นันทกิจ. 2538. การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพฯ.

Awang, Y., A. S. Shaharom, R. Mohamad, and A. Selamat. 2009. Chemical and physical characteristics of cocopeat-based media mixtures and their effects on the growth and development of Celosia cristata. American Journal of Agricultural and Biological Sciences. 4: 63-71.

Brady, N. C., and R. R. Weil. 2008. The Nature and Properties of Soils. Pearson Prentice Hall, New Jersey.

Chescheir, P. W., L. M. Westserman, and J. L. Safley. 1986. Laboratory methods for estimating available nitrogen in manures and sludges. Agricultural Wastes. 18: 175-195.

Dauda, S. N., F. A. Ajayi, and E. Ndor. 2008. Growth and yield of watermelon (Citrullus lanatus) as affected by poultry manure application. Journal of Agriculture and Social Sciences. 4: 121-124.

Dikinya, O., and N. Mufwanzala. 2010. Chicken manure-enhanced soil fertility and productivity: Effects of application rates. Journal of Soil Science and Environmental Management. 1: 46-54.

Duncan, J. 2005. Composting chicken manure. WSU Cooperative Extension, King County Master Gardener and Cooperative Extension Livestock Advisor.

Havlin, J. L., J. D. Beaton, S. L. Tisdale, and W. L. Nelson. 2005. Soil Fertility and Fertilizers: An Introduction to Nutrient Management. Pearson Education, New Jersey.

Khan, Md.Z., M. D. Era, Md.A. Islam, R. Khatun, A. Begum, and S. M. Billah. 2019. Effect of coconut peat on the growth and yield response of Ipomoea aquatica. American Journal of Plant Sciences. 10: 369-381.

Kilande, B. G., J. S. Tenywa, M. Rwakaikara-Silver, and A. Amoding-Katushabe. 2011. Agronomic evaluation of cattle manures for cabbage production: animal gender and physiological conditions. Nepalese Journal of Agricultural Science. 9: 76-89.

Mishra, S., and A. Jain. 2013. Effect of integrated nutrient management on andrographolide content of Andrographis paniculata. Nature and Science. 11: 30-32.

Raviv, M., and J. H. Lieth. 2008. Soilless Culture: Theory and Practice. Elsevier, Amsterdam.

Roy, S., and Md.A. Kashem. 2014. Effects of organic manures in changes of some soil properties at different incubation periods. Open Journal of Soil Science. 4: 81-86.

Sharafzadeh, S., and K. Ordookhani. 2011. Organic and biofertilizers as a good substitute for inorganic fertilizers in medicinal plants framing. Australian Journal of Basic and Applied Science. 5: 1330-1333.

Sim, J. T. 1997. Agricultural and environment issues in management of poultry wastes: resent innovations and long-term challenges. p. 72-90. In: J.E. Rechigel and H.C. Mackanda. Agricultural Uses by Products and Wastes, Washington, D.C.

Tuckeldoe, B. R., K. M. Maluleke, and P. Adriaanse. 2023. The effect of coconut coir substrate on the yield and nutritional quality of sweet peppers (Capsicum annuum) varieties. Scientific Reports. 13: 1-14.

Warman, P. R. 1986. The effect of fertilizer, chicken manure and dairy manure on Timothy yield, tissue composition and soil fertility. Agricultural Wastes. 18: 289-298.

Xiong, J., Y. Tian, J. Wang, W. Liu, and Q. Chen. 2017. Comparison of coconut coir, rockwool, and peat cultivations for tomato production: nutrient balance, plant growth and fruit quality. Frontiers in Plant Science. 8: 1-9.

Yusnaeni, I., S. Sumiyati, T. Lion, and R. Nubatonis. 2021. The effect of chicken and cow manure dose combination on the growth and production of red chili (Capsicum annum L). Journal of Biological Science and Education. 3: 53-58.