ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เกษตรกรที่เข้ารับการอบรมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วง จำนวน 180 ราย ในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 56.11 ปี สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ประสบการณ์ผลิตมะม่วงเฉลี่ย 21.54 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนในการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 3.42 คน พื้นที่การผลิตมะม่วงเฉลี่ย 23.17 ไร่ และส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ของตนเอง ในปี พ.ศ. 2565 เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายมะม่วงเฉลี่ย 199,458.30 บาท ใช้แหล่งเงินทุนของตนเองเป็นหลัก และมีต้นทุนการผลิตมะม่วงเฉลี่ย 120,482.77 บาท ทั้งนี้ เกษตรกรส่วนใหญ่มีตลาดจำหน่ายของผลผลิตมะม่วงที่แน่นอน และมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงมาก่อน ในปี พ.ศ. 2565 มีการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 3.70 ครั้ง ส่วนใหญ่เคยได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตมะม่วง ทั้งนี้ ภาพรวมเกษตรกรมีความรู้และการปฏิบัติในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า ระดับการศึกษา การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงจากสื่อต่าง ๆ และการติดต่อเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับมะม่วงของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. 2565. ชี้ช่องใช้ FTA สร้างแต้มต่อ สินค้ามะม่วงสด-ข้าวเหนียวมะม่วงของไทย. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
ชไมพร กาญจนกิตสกุล. 2555. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Research Methodology in Social Science). โพรเจ็คท์, ตาก.
ณัฐพร จินดาวงศ์. 2559. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ปลูกพริก จังหวัดชัยภูมิ วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เทคโนโลยีชาวบ้าน. 2564. ทำไม…มะม่วงแปดริ้ว จึงมีชื่อเสียงและขายได้. แหล่งข้อมูล: https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_174503. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
ธนกิจ ถามี, ธนพร ศิลปชัย, เสาวนีย์ มีทรัพย์ และกรรณิกา สนธิ. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเรื่องการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตผล (GAP, มกษ.1003-2555) ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 3(1): 34-47.
นฤมล คำดี. 2565. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรดีที่เหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอว์เบอร์รีคุณภาพ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
บุญธรรม จิตต์อนันต์. 2540. การวิจัยทางสังคมศาสตร์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ปาริชาติ บัวแก้ว และไชยธีระ พันธุ์ภักดี. 2566. ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกพืชสมุนไพรในจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารเกษตร. 40(1): 101-111.
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม. 2560. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า. 2565. ข้อมูลรายชื่อของเกษตรกร. สำนักงานเกษตรอำเภอบางคล้า, ฉะเชิงเทรา.
สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. 2564. ข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี2563-2564. แหล่งข้อมูล: http://www.chachoengsao.doae.go.th. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. 2563. การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19). แหล่งข้อมูล: https://www.opsmoac.go.th/chachoengsao-home.ค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา. 2566. แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดฉะเชิงเทรา (2566-2570). สำนักงานการเกษตรและสหกรณ์, ฉะเชิงเทรา.
สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา. 2566. แผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา (2566-2570). สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา, ฉะเชิงเทรา.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งข้อมูล: https://www.oae.go.th. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2566.
สุปราณี มีสง่า, นิรันดร์ ยิ่งยวด และจุฬาทิพย์ ถาวรรัตน์. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจปฏิบัติตามแนวทางเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรอำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 13(1): 222-249.
อารยา องค์เอี่ยม และพงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. 2561. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย. วิสัญญีสาร. 44(1): 36-42.
Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition, Harper and Row, New York.