การใช้ซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอลเพื่อยืดอายุสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ตัดแต่งพร้อมบริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอลต้นแบบเพื่อใช้ชะลอการเสื่อมสภาพสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ตัดแต่งพร้อมบริโภค โดยซองควบคุมบรรจุซิลิกาเจลที่อิ่มตัวด้วยเอทานอลเหลว ด้านหน้าซองควบคุมทำจากฟิล์ม low density polyethylene (LDPE) และด้านหลังประกบกับ AL/PE ขนาด 3 x 3 ซม. และ 6 x 6 ซม. โดยบรรจุซิลิกาเจลที่อิ่มตัวด้วยเอทานอลจำนวน 1 และ 2 กรัมตามลำดับ จากนั้นซองปลดปล่อยไอระเหยเอทานอลจะถูกบรรจุลงในบรรจุภัณฑ์สตรอว์เบอร์รีตัดแต่งพร้อมบริโภค จากผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการปลดปล่อยไอระเหยเอทานอล และระดับความเข้มข้นไอระเหยเอทานอลในบรรยากาศบรรจุภัณฑ์ที่อุณหภูมิ 5 °C พบว่าระดับความเข้มข้นไอระเหยเอทานอลเพิ่มขึ้น จากนั้นเข้าสู่สภาวะคงที่ในชั่วโมงที่ 48 และมีค่าสูงสุดในชั่วโมงที่ 72 โดยซองขนาด 3 x 3 ซม. มีค่าเท่ากับ 107.95 ± 9.38 ppm และซองขนาด 6 x 6 ซม. มีค่าเท่ากับ 182.50 ± 21.10 ppm จากการศึกษาพบว่าเมื่อใช้ซองควบคุมปล่อยไอระเหยเอทานอลร่วมกับบรรจุสตรอว์เบอร์รีตัดแต่งพร้อมบริโภค (200 กรัม) ในกล่องบรรจุภัณฑ์เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 °C เป็นเวลา 7 วัน ไอระเหยเอทานอลช่วยชะลอการสูญเสียน้ำหนักสด ปริมาณแอนโทไซยานินและปริมาณวิตามินซียังไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญภายหลังการเก็บรักษา 1 วัน ปริมาณสารประกอบฟีนอล และ antioxidant activity (DPPH) เพิ่มขึ้นในช่วง 1-3 วันของการเก็บรักษา และหลังจากนั้นมีแนวโน้มที่ลดลงตลอดอายุการเก็บรักษา ทั้งนี้จำนวนจุลินทรีย์เจริญในอัตราที่ช้ากว่าตัวอย่างควบคุม โดยซองควบคุม 1gS3 มีต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมเพียงพอต่อการนำไปบรรจุร่วมกับผลสตรอว์เบอร์รีตัดแต่งพร้อมบริโภค ซึ่งซองควบคุมฯแสดงให้เห็นว่าสามารถชะลอการเสื่อมสภาพ และการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ของสตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 80 ตัดแต่งพร้อมบริโภคได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ครองใจ โสมรักษ์, ณัฐพงษ์ วงษ์มา และอังคณา เทียนกล่ำ. 2560. การเจริญเติบโตและผลผลิตสตรอว์เบอร์รีที่ปลูกในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 19: 77-85.
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2543. สตรอเบอรี: พืชเศรษฐกิจใหม่. สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์. 2560. งานวิจัยสตรอว์เบอร์รีโครงการหลวง กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. แหล่งข้อมูล: https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=40028. ค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563.
ดนัย บุณยเกียรติ และนิธิยา รัตนาปนนท์. 2535. การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 3. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
นพรัตน์ ทัดมาลา, วาริช ศรีละออง และสมัคร แก้วสุกแสง. 2560. การประยุกต์ใช้ Ethanol Vapor Releasing Pad ในการควบคุมคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลลองกอง. วารสารแก่นเกษตร. 45: 1191-1196.
นฤมล พิลาคุณ, วีรเวทย์ อุทโธ, ฤทธิรงค์ พฤฑฒิกุล และเฉลิมชัย วงษ์อารีย์. 2563. ผลของไอระเหยเอทานอลที่ปลดปล่อยในการบรรจุภัณฑ์บรรยากาศดัดแปรแอคทีฟ และการเจาะรูบรรจุภัณฑ์ต่อคุณภาพการเก็บรักษาของพริกหวานสด. น. 1-8. ใน: ประชุมวิชาการ พืชสวน แห่งชาติ ครั้งที่ 18 เรื่องพืชสวนก้าวไกล นำไทยมั่งคั่ง 5-7 พฤศจิกายน 2562. ณ โรงแรมริชมอนด์ สไตล์ลิซ คอนเวนชั่น, นนทบุรี.
พงษ์ศิลป์ สมบูรณ์ชัย. 2550. ส่วนประสมทางการตลาดสตรอว์เบอร์รีของเกษตรกรในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัญฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
พนิตา งามเชื้อชิต. 2560. เนื้อมะม่วงสดตัดแต่ง: สรีรวิทยาและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 12: 17-34.
พฤกษ์ ชูสังข์, วิโรจน์ แก้วเรือง, ชัยรัตน์ เตชะวุฒิพร, พนิดา บุญฤทธิ์ธงไชย และเฉลิมชัย วงษ์อารี. 2556. ประสิทธิภาพของไอระเหยเอทานอล ต่อการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของผลหม่อน (Morus alba L.) พันธุ์เชียงใหม่ระหว่างการวางจำหน่าย. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44: 386-389.
มานพ จั่นขุนทด, เกียรติศักดิ์ นาบำรุง และณฐนนท์ ดราชู. 2547. อาหารแปรรูปต่ำ (minimally processed food). วารสารจาร์พา. 11: 23-26.
วีรเวทย์ อุทโธ, เอกสิทธิ์ อ่อนสะอาด และเรวัติ ชัยราช. 2555. การพัฒนาต้นแบบซองควบคุมการปล่อยไอระเหยเอทานอลสำหรับมะละกอตัดสด. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 30: 39-49.
สุชาดา เลาหศิลป์สมจิตร์. 2561. การบรรจุภัณฑ์แอคทีฟสำหรับชาอบแห้ง. วารสารการเกษตรราชภัฏ. 17: 34-41.
อัญชลี ศิริโชติ, ศุภชัย ภิสัชเพ็ญ, บุปผา จองปัญญาเลิศ และชัยรัตน์ พึ่งเพียร. 2557. ผลของการรมไอระเหยเอทานอลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของลองกองผลเดี่ยวในระหว่างการเก็บรักษา. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 45: 213-216.
Bai, J., A. Plotto, R. Spotts, and N. Rattanapanone. 2011. Ethanol vapor and saprophytic yeast treatments reduce decay and maintain quality of intact and fresh-cut sweet cherries. Postharvest Biology and Technology. 62: 204-212.
Belay, Z. A., O. J. Caleb, and U. L. Opara. 2016. Modelling approaches for designing and evaluating the performance of modified atmosphere packaging (MAP) systems for fresh produce: A review. Food Packaging and Shelf Life. 10: 1-15.
Bureau of Quality and Safety of Food. 2017. Quality criteria of microbiology of foods and utensils (Vol. 3). Available: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/wp-content/uploads/2017/Publish/e-book/micro-ISBN60.pdf. Accessed Sep.20, 2023.
Choosung, P., W. Utto, P. Boonyaritthongchai, T. Wasusri, and C. Wongs-Aree. 2019. Ethanol vapor releasing sachet reduces decay and improves aroma attributes in mulberry fruit. Food Packaging and Shelf Life. 22: article ID 100398.
Fan, D., W. Wang, Q. Hao, and W. Jia. 2022. Do non-climacteric fruits share a common ripening mechanism of hormonal regulation?. Frontiers in Plant Science. 13: article ID 923484.
Gallo, M., L. Ferrara, A. Calogero, D. Montesano, and D. Naviglio. 2020. Relationships between food and diseases: What to know to ensure food safety. Food Research International. 137: article ID 109414.
Giampieri, F., T. Y. Forbes-Hernandez, M. Gasparrini, J. M. Alvarez-Suarez, S. Afrin, S. Bompadre, J. L. Quiles, B. Mezzetti, and M. Battino. 2015. Strawberry as a health promoter: an evidence based review. Food and function. 6: 1386-1398.
Homaida, M. A., S. Yan, and H. Yang. 2017. Effects of ethanol treatment on inhibiting fresh-cut sugarcane enzymatic browning and microbial growth. LWT. 77: 8-14.
Ji, Y., W. Hu, J. Liao, Z. Xiu, A. Jiang, Y. Guan, X. Yang, and K. Feng. 2021. Ethanol vapor delays softening of postharvest blueberry by retarding cell wall degradation during cold storage and shelf life. Postharvest Biology and Technology. 177: article ID 111538.
Kelly, M. O., and M. E. Saltveit Jr. 1988. Effect of endogenously synthesized and exogenously applied ethanol on tomato fruit ripening. Plant Physiology. 88: 143-147.
Lei, T. T., J. Qian, and C. Yin. 2022. Equilibrium modified atmosphere packaging on postharvest quality and antioxidant activity of strawberry. International Journal of Food Science and Technology. 57: 7125-7134.
Li, M., X. Li, J. Li, Y. Ji, C. Han, P. Jin, and Y. Zheng. 2018. Responses of fresh-cut strawberries to ethanol vapor pretreatment: Improved quality maintenance and associated antioxidant metabolism in gene expression and enzyme activity levels. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 66: 8382-8390.
Liu, C., H. Zheng, K. Sheng, W. Liu, and L. Zheng. 2018. Effects of melatonin treatment on the postharvest quality of strawberry fruit. Postharvest Biology and Technology. 139: 47-55.
Llorach, R., F. A. Tomás-Barberán, and F. Ferreres. 2004. Lettuce and chicory byproducts as a source of antioxidant phenolic extracts. Journal of Agricultural and Food Chemistry. 52: 5109-5116.
Maryam, A., A. Maryam, R. Anwar, A. U. Malik, and S. A. Khan. 2021. Influence of macro‐perforated polyethylene terephthalate and low-density polyethylene packaging films on quality and storability of strawberries. Journal of Food Processing and Preservation. 45: article ID e15068.
Nguyen-the, C., and J. P. Prunier. 1989. Involement of pseudomonads in deterioration of ‘ready-to-use’ salad. International Journal of Food Science and Technology. 24: 47-58.
Noma, Y., Y. Suzuki, H. Terai, and N. Yamauchi. 2009. Effects of postharvest ethanol vapor treatment on quality of Sudachi (Citrus suchachi hort. ex. shurAl) fruit. Food Preservation Science. 35: 187-193.
Olatunde, O. O., and S. Benjakul. 2018. Natural preservatives for extending the shelf‐life of seafood: A revisit. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 17: 1595-1612.
Priyadarshi, R., A. Jayakumar, C. K. de Souza, J. W. Kim, and J. T. Kim. 2024. Advances in strawberry postharvest preservation and packaging: A comprehensive review. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety. 23: article ID e13417.
Utto, W. 2014. Factors affecting release of ethanol vapour in active modified atmosphere packaging systems for horticultural products. Maejo International Journal of Science and Technology. 8: 75-85.
Wang, D., H. Xiao, X. Lyu, H. Chen, and F. Wei. 2023. Lipid oxidation in food science and nutritional health: A comprehensive review. Oil Crop Science. 8: 35-44.
Wang, Q., X. Nie, and M. Cantwell. 2014. Hot water and ethanol treatments can effectively inhibit the discoloration of fresh-cut sunchoke (Helianthus tuberosus L.) tubers. Postharvest Biology and Technology. 94: 49-57.
Xu, F., X. Chen, P. Jin, X. Wang, J. Wang, and Y. Zheng. 2012. Effect of ethanol treatment on quality and antioxidant activity in postharvest broccoli florets. European Food Research and Technology. 235: 793-800.
Zhang, Y., Y. Zhao, J. Feng, H. Dong, W. Liao, X. Yang, S. Chen, and Q. He. 2024. Development of equilibrium modified atmosphere packaging (EMAP) for postharvest strawberries based on material modification of permeability and selectivity: Theoretical design, model validation, and application effects. Postharvest Biology and Technology. 211: article ID 112799.