ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชสกุลตูบหมูบ (วงศ์ขิง) ในจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
พืชสกุลตูบหมูบ, การใช้ประโยชน์พื้นบ้าน, ความหลากหลาย, จังหวัดมหาสารคามบทคัดย่อ
ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชสกุลตูบหมูบ (วงศ์ขิง) ในจังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 พบพืชสกุลตูบหมูบ จำนวน 8ชนิด ได้แก่ Kaempferia angustifolia Rosc. (ปราบสมุทร), K. galanga L. (เปราะหอม), K. gilbertii W.Bull. (สาริกาลิ้นทอง), K. mahasarakhamensis Saensouk & P. Saensouk (ตูบหมูบมหาสารคาม), K. marginata Carey, K. parviflora Wall. ex Baker (ตูบหมูบ), K. pulchra Ridl. (ว่านนกคุ้ม) และ K. rotunda L. (ว่านหาวนอน) สามารถสร้างรูปวิธานจำแนกชนิดจากลักษณะสัณฐานวิทยาพืชที่พบในป่าธรรมชาติมี 3 ชนิด อีก 5 ชนิดเป็นพืชที่นำมาปลูกในบ้านเรือน ในจำนวนทั้งหมดมี 1 ชนิดที่พบทั้งในธรรมชาติและพืชปลูก คือ K. rotunda L. พบพืชหายากและเป็นพืชถิ่นเดียว 1 ชนิด คือ Kaempferia mahasarakhamensis Saensouk & P. Saensouk รายงานการใช้ประโยชน์พื้นบ้าน 5 ด้าน ได้แก่ พืชสมุนไพร (4 ชนิด) พืชมงคล (4 ชนิด) พืชไม้ประดับ (3 ชนิด) พืชอาหาร (2 ชนิด) และพืชใช้เป็นยาชูกำลัง (1 ชนิด) ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ทั้งต้น เหง้าและใบ
References
จรัญ มากน้อย, สุรพล แสนสุข, เกศริน มณีมูน และวิทยา ปองอมรกุล. (2559). การใช้ประโยชน์พืชวงศ์ขิง. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม.
ลลิตา คำแท่ง, สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข และสุดารัตน์ ถนนแก้ว. 2557. ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชวงศ์ขิงในอุทยานแห่งชาติภูแลนคา จังหวัดชัยภูมิ. วารสารวิจัย มข., 19(6): 794-803.
สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข และธาดา สังข์ทอง. 2557. พืชวงศ์ขิงในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย, 5(2): 99-105.
สุรพล แสนสุข, ปิยะพร แสนสุข และณชยุต จันท์โชติกุล. (2560). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านของพืชวงศ์ขิงในจังหวัดหนองคาย ประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 45(3): 574-594.
สํานักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สํานักงานหอพรรณไม้ สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืชกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
Larsen, K. and Larsen, S. S. (2006). Gingers of Thailand. Queen Sirikit Botanic Garden, Chiang Mai, Thailand.
Saensouk, S., Saensouk, P., Pasorn, P and Chantaranothai, P. 2016. Diversity, Traditional Uses and New Record of Zingiberaceae in Nam Nao National Park, Petchabun Province, Thailand. Agriculture and Natural Resources. 50: 445-453.
Saensouk, S. and Saensouk, P. Pasorn, P. and Chanshotikul, N. 2018. Diversity and traditional uses of Zingiberaceae in Nakhon Phanom province, Thailand. RESEARCH & KNOWLEDGE, 4 (1): 47-55.
Saensouk, S. and Saensouk, P. (2019). Kaempferia mahasarakhamensis sp. nov. (Zingiberaceae), a new species from Northeastern Thailand. Taiwania, 64(1): 39-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 08-02-2024 (3)
- 26-04-2021 (2)
- 26-04-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น