This is an outdated version published on 26-04-2021. Read the most recent version.

ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์ของพืชสกุลตูบหมูบ (วงศ์ขิง) ในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุรพล แสนสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • ปิยะพร แสนสุข คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • อารีรัตน์ รักษาศิลป์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

พืชสกุลตูบหมูบ, การใช้ประโยชน์พื้นบ้าน, ความหลากหลาย, จังหวัดมหาสารคาม

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากหลายและการใช้ประโยชน์พื้นบ้านพืชสกุลตูบหมูบ (วงศ์ขิง) ในจังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 พบพืชสกุลตูบหมูบ จำนวน 8ชนิด ได้แก่ Kaempferia angustifolia Rosc. (ปราบสมุทร), K. galanga L. (เปราะหอม), K. gilbertii W.Bull. (สาริกาลิ้นทอง), K. mahasarakhamensis Saensouk & P. Saensouk (ตูบหมูบมหาสารคาม), K. marginata Carey, K. parviflora Wall. ex Baker (ตูบหมูบ), K. pulchra Ridl. (ว่านนกคุ้ม) และ K. rotunda L. (ว่านหาวนอน) สามารถสร้างรูปวิธานจำแนกชนิดจากลักษณะสัณฐานวิทยาพืชที่พบในป่าธรรมชาติมี 3 ชนิด อีก 5 ชนิดเป็นพืชที่นำมาปลูกในบ้านเรือน ในจำนวนทั้งหมดมี 1 ชนิดที่พบทั้งในธรรมชาติและพืชปลูก คือ K. rotunda L. พบพืชหายากและเป็นพืชถิ่นเดียว 1 ชนิด คือ Kaempferia mahasarakhamensis Saensouk & P. Saensouk รายงานการใช้ประโยชน์พื้นบ้าน 5 ด้าน ได้แก่ พืชสมุนไพร (4 ชนิด) พืชมงคล (4 ชนิด) พืชไม้ประดับ (3 ชนิด) พืชอาหาร (2 ชนิด) และพืชใช้เป็นยาชูกำลัง (1 ชนิด) ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ ได้แก่ ทั้งต้น เหง้าและใบ

เผยแพร่แล้ว

26-04-2021 — Updated on 26-04-2021

Versions