ผลการทดแทนเห็ดนางฟ้าต่อคุณภาพทางเคมี-กายภาพของผลิตภัณฑ์ไส้อั่วกบ

ผู้แต่ง

  • นิตยา ภูงาม คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • ไกรวิชญ์ ใหมคำมูล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • วณิดา ยินดีรัมย์ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ไส้อั่วกบ, เห็ดนางฟ้า, คุณภาพทางเคมี-กายภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการทดแทนเห็ดนางฟ้าต่อคุณภาพทางเคมี-กายภาพของผลิตภัณฑ์ไส้อั่วกบที่มีการเติม
เห็ดนางฟ้า 75% (w/w) ทดแทนเนื้อกบภายในผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของไส้อั่วกบ พบว่า ไส้อั่วกบที่มีการทดแทนเห็ดนางฟ้ามีปริมาณโปรตีนสูงกว่า (18.18% (w/w)) สูตรควบคุม (13.18% (w/w)) เยื่อใยมีปริมาณสูงขึ้น (6.50% (w/w)) เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรควบคุม (4.24%) ไส้อั่วกบสูตรทดแทนมีปริมาณไขมันต่ำกว่า (0.92% (w/w))
สูตรควบคุม (2.80% (w/w)) เช่นเดียวกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำกว่า (4.17% (w/w)) สูตรควบคุม (10.20% (w/w))
และปริมาณเถ้าของไส้อั่วกบสูตรทดแทนมีค่าใกล้เคียงสูตรควบคุม (4.46 และ 4.23% (w/w) ตามลำดับ) จากการวิเคราะห์ปริมาณพลังงาน พบว่าไส้อั่วกบสูตรทดแทนให้พลังงานต่ำกว่า (77.68 kcal) สูตรควบคุม (118.72 kcal) จากการวิเคราะห์
ค่า Peroxide Value (P.V.) และ Acid Value (A.V.) พบว่า ไส้อั่วกบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของไขมันทั่วไป การศึกษาคุณภาพทางกายภาพ พบว่าสูตรทดแทนมีค่า Water activity ค่าความแน่นเนื้อ และค่าการอุ้มน้ำสูงกว่า (0.76, 13.26 N และ 64.02% (w/w) ตามลำดับ) สูตรควบคุม (0.70, 11.92 N และ 58.00% (w/w) ตามลำดับ)
ซึ่งส่งผลดีต่อคุณลักษณะเคมี-กายภาพของผลิตภัณฑ์ไส้อั่ว และส่งผลดีต่อคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์ที่มีโปรตีน และใยอาหารสูง

References

นานทรี หุ้นเหี้ยง. (2559). การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิภายในห้องเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฐานซึ่งสร้างขึ้นด้วยวงบ่อซีเมนต์ตามแบบจำลองหม้อดินเก็บความเย็น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นุดี เปาทอง. (2544). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เห็ดหยองจากเห็ดนางฟ้า. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2547). ไส้อั่ว. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2564 http://www.nkw.ac.th/courseware/www.nectec.or.th/courseware/siamculture/otoptis/tcps294_47.pdf.

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. สำนักพิมพ์หยี่เฮง: กรุงเทพฯ.

พาขวัญ ทองรักษ์. (2555). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้อั่วปลาไขมันต่ำ. รายงานการวิจัย. คณะวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ.

ภัทราพร ธัญญานิชกุล. (2540). ผลของภาชนะบรรจุและการเก็บรักษาต่อคุณภาพของข้าวสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถิตพงษ์ มั่นหลำ. (2559). การผลิตไส้อั่วเห็ดนางฟ้าภูฏานเสริมใยเปลือกส้มโอ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10(2): 103-114.

สมฉันท์ ปรีชา. (2551). บทสัมภาษณ์ผู้ผลิตไส้อั่ว. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563. https://www.agro.cmu.ac.th/lanna/sausage.html.

สวรรยา เม้งเกร็ด. (2552). การทดแทนเนื้อหมูบางส่วนด้วยกากถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์ไส้อั่ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุพัตรา เปี่ยมวารี, สรวิศ แจ่มจำรูญ, วันทนา สะสมทรัพย์, ธนภักษ์ อินยอด และสุริวิภา สังขาร. (2554). การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดนางฟ้าภูฎาน Pleurotus eous อบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 42(2): 9-12.

สุรินทร์ร้อยแปด. (2561). กบยัดไส้. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2564. http://surin108.com/web/2015/09/อังแกบอบ-กบยัดไส้ย่าง-อ/.

อภิรักษ์ เพียรมงคล. (2549). การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตเส้นใยอาหารจากกากส้มเขียวหวาน กากส้มสายน้ำผึ้ง กากส้มสีทอง และเปลือกส้มโอ. รายงานการวิจัย. คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่.

AOAC. (2000). Official Methods of Analysis of AOAC. 17th ed. Association of Official Analytical Chemists. United States.

AOAC. (2011). Official Methods of Analysis of AOAC. 18th ed. Association of Official Analytical Chemists. United States.

Peason D., Melon H.K. and Ronald S. (1976). The chemical analysis of food. Churchill Livingston Edinburgh: London.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2021 — Updated on 08-02-2024

Versions