การใช้ใบไชยาบดผงในสูตรอาหารไก่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและน้ำหนักซาก ในไก่ตะเภาแก้ว
คำสำคัญ:
ต้นไชยา, สารพฤกษเคมี, ไก่ตะเภาแก้วบทคัดย่อ
งานทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ผงไชยาในสูตรอาหารต่อประสิทธิภาพการกินได้และสมรรถนะการเจริญเติบโตในไก่ตะเภาแก้ว โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์จัดกลุ่มทดลองแบบแฟคทอเรียล (2×4 Factorial in Completely Randomized Design; CRD) ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัย A คือ ไก่ตะเภาแก้ว A1) อายุ 2 สัปดาห์ และ A2) อายุ 4 สัปดาห์ และปัจจัย B ได้แก่ อาหารสูตรควบคุม อาหารผสมผงไชยาในสูตรที่ระดับ 5 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์ (B1, B2, B3 และ B4) โดยการทดลองใช้ไก่คละเพศ พันธุ์ตะเภาแก้ว โดยแต่ละกลุ่มทดลองมี 3 ซ้ำ ๆ ละ 5 ตัว รวมทั้งหมด 120 ตัว ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักสุดท้ายและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตลอดงานทดลองไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) การกินได้ตลอดงานทดลองของไก่ A2 สูงกว่ากลุ่ม A1 และอัตราการเจริญเติบเฉลี่ยต่อวัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ไม่มีความแตกต่างกัน ต้นทุนค่าอาหารเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ของไก่กลุ่ม A1 ลดลง แต่ไก่กลุ่ม A2 สูงขึ้นในกลุ่มอาหารที่ใช้ไชยาในสูตรอาหาร ส่วนเปอร์เซ็นต์ซาก ปีกบน สันนอก สันใน สะโพก โครง เครื่องในรวม เนื้อน่อง หัวและคอ แข้ง และเลือด ไม่มีผลกระทบของไก่ที่ได้รับอาหารทั้ง 4 สูตร และไก่ทั้ง 2 กลุ่ม (p>0.05) เปอร์เซ็นต์ปีกบนของไก่กลุ่ม A1 สูงกว่ากลุ่ม A2 และ ในขณะเดียวกัน ไม่มีผลกระทบกับเปอร์เซ็นต์ปีกบนของไก่ทั้งสองกลุ่ม แต่มีค่าสูงขึ้นในกลุ่มอาหารที่ใช้ไชยาในสูตรอาหาร (p<0.05) ดังนั้นการใช้ใบไชยาสามารถใช้ในอาหารไก่ตะเภาแก้วได้ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในสูตรอาหาร
References
กฤติยา ไชยนอก. (2562). คะน้าเม็กซิโก ต้นไม้แสนอร่อย. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563. เข้าถึงได้จาก http://loklilub.blogspot.com
จารุณี หนูละออง, บุคอรี มะตูแก, เกตวรรณ บุญเทพ และสุวรรณา ทองดอนคำ. (2561). รายงานวิจัยผลของการใช้ สมุนไพรไทยบางอย่างต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่พื้นเมือง. คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร สาขาวิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ไพโชค ปัญจะ (2556) ผลของการเสริมดอกหางนกยูงฝรั่งในสูตรอาหารต่อสมรรถภาพการผลติและคุณภาพซากของไก่เนื้อในช่วงอายุ 4-6 สัปดาห์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 21(ฉบับพิเศษ 6): 520-525.
เปลื้อง บุญแก้ว, อัจฉรา นิยมเดชา, และมงคล คงเสน. (2557) การเสริมเยื่อในสาคูในอาหารที่มีผลต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่พื้นเมือง. แก่นเกษตร. 42(ฉบับพิเศษ 2): 385-389.
สุบรรณ ฝอยกลาง, ศรัญญา ม่วงทิพย์มาลัย, ตะวัน คัมภีร์, จุฑารักษ์ กิติยานุภาพ, ชุติกาญจน์ ศรทองแดง, เมธา วรรณพัฒน์, อานนท์ ปะเสระกัง และอนุสรณ์ เชิดทอง. (2562). ผลของการทดแทนกากถั่วเหลืองด้วยใบชายาบดต่อจลนศาสตร์การผลิตแก๊สความสามารถในการย่อยได้และกระบวนการหมักโดยใช้เทคนิคการผลิตแก๊สในหลอดทดลอง. แก่นเกษตร. 47(ฉบับพิเศษ 2): 257-262.
สุมน โพธิ์จันทร์, ประเสรฐิ โพธิ์จันทร์ และเสาวคนธ์ โรจนสถิตย์. (2531). รายงานผลการใช้ใบกระถินแห้งแทนแหล่งอาหารโปรตีนในไก่พื้นเมือง. ค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563. http://nutrition.dld.go.th/Research full/2531/R3102.pdf
Babalola J.O. and Alabi O.O. (2015). Effect of processing methods on nutritional composition, phytochemicals, and antinutrient properties of chaya leaf (Cnidoscolus aconitifolius). African Journal of Food Science. 9(12): 560-565.
Franco L.S., McNab J.M., Pearson R.A. and Casso R.B. (2002). Performance of broilers fed on diets containing different amounts of chaya (Cnidoscolus aconitifolius) leaf meal. Tropical Animal Health and Production. 34: 257-269.
National Research Council. (1984). Nutrient Requirements of Poultry: Eighth Revised Edition, 1984. Washington, DC: The National Academies Press. https://doi.org/10.17226/19397.
Sadeghi A., Toghyani M. and Gheisari A. (2015) Effect of various fiber types and choice feeding of fiber on performance, gut development, humoral immunity, and fiber preference in broiler chicks. Poultry Science. 94: 2734–2743.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 08-02-2024 (3)
- 26-04-2021 (2)
- 26-04-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น