ผลของน้ำแช่ใบหูกวางแห้งต่อการงอกทดแทนครีบปลาทอง

ผู้แต่ง

  • ธวัฒน์ชัย งามศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • อภิวัฒน์ เหลื่อมสมบูรณ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ใบหูกวาง, ปลาทอง, การศัลยกรรม, การงอกทดแทน

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้น้ำแช่ใบหูกวางแห้งต่อการงอกทดแทนของครีบปลาทอง โดยการทดลองตัดครีบหางตำแหน่งที่ไม่ติดโคนครีบหางทั้งหมด แล้วทำการรักษาให้มีการฟื้นฟูทดแทนส่วนที่หายไป โดยการใช้น้ำแช่ใบหูกวางที่มีความเข้มข้นต่างกัน เพื่อศึกษาอัตราการงอกทดแทน ระยะเวลาการงอกทดแทน และอัตราการรอดตายของปลา โดยแบ่งออกเป็น 4 สิ่งทดลอง
แต่ละสิ่งทดลองมี 3 ซ้ำ ประกอบด้วยสิ่งทดลองที่ 1 ใช้น้ำที่ไม่แช่ใบหูกวาง สิ่งทดลองที่ 2, 3 และ 4ใช้ใบหูกวางแห้ง 3, 6 และ 9 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการงอกทดแทนครีบหางปลาทองได้สมบูรณ์ ใช้ระยะ 6 สัปดาห์ โดยลักษณะครีบที่งอกใหม่จะมีลักษณะสีอ่อนกว่าของเดิม ซึ่งความยาวครีบหางปลาทอง สิ่งทดลองที่ 3 และสิ่งทดลองที่ 4
มีความแตกต่างจากสิ่งทดลองที่ 1 ใช้น้ำที่ไม่แช่ใบหูกวางอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่สิ่งทดลองที่ 1 กับสิ่งทดลองที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เปอร์เซ็นต์อัตราการรอดตาย พบว่าสิ่งทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 91.66±7.21, 100±0.00, 83.33±14.43 และ91.66±14.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิเคราะห์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ (p>0.05)

References

ชาญยุทธ คงภิรมย์ชื่น. (2533). คู่มือปฏิบัติการคุณภาพน้ำทางการประมง. คณะเกษตรศาสตร์บางพระ สถาบันเทคโนโลยีราช มงคล. ชลบุรี.

ธวัฒน์ชัย งามศิริ. (2558). กรณีศึกษาการทำศัลยกรรมในปลา. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง. คณะเทคโนโลยีการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. พระนครศรีอยุธยา.

นันทริกา ชันซื่อ. (2549). การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำแช่ใบหูกวางแห้งและสารสกัดฟ้าทะลายโจรต่อการงอกของหางและ ปริมาณเม็ดเลือดแดงอัดแน่นในปลาคาร์พ. วารสารเวชชสารสัตวแพทย์. 57(2): 52-62.

วิทยา ตินนังวัฒนะ และทวี วิพุทธานุมาศ. (2543). การศึกษาระดับโปรตีนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาตะเพียน ขาวขนาดเล็ก. เอกสารวิชาการ. สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดเพชรบุรี. กรมประมง. 21 หน้า.

วิรัช จิ๋วแหยม. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคุณภาพน้ำและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ. สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สมจินตนา พุทธมาตย์ และวรวัฒ สุวรรณสาร. (2550). การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของใบหูกวาง (Terminalia catappa L.) และผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำและการยับยั้งแบคทีเรียในน้ำ. ใน การประชุมทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2550. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 45:579-585.

สิทธิพล อินทรพัฒน์. (2557). ผลงานวิจัยสู่สังคมไทย การงอกใหม่: Regeneration. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2564. http://www.sc.mahidol.ac.th/usr/?p=338

สุพจน์ ทองนพคุณ. (2523). ปริมาณการใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำของปลาน้ำจืดบางชนิดที่ระดับอุณหภูมิต่าง ๆ กัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรัญญา พลพรพิสิฐ, นันทริกา ชันซื่อ, วิณา เคยพุดชา, จิรศักดิ์ ตั้งตรงไพโรจน์, ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ และเอนโดะ มากาโตะ. (2549). การใช้ใบหูกวาง (Terminalia catappa L.) เพื่อรักษาโรคในปลากัด (Betta splendens) และปลาหาง นกยูง (Poecilia reticulata). รายงานการวิจัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Bockelmann P.K., Ochandio B.S. and Bechara I.J. (2010). Histology study of the dynamics in epidermis regeneration of the carp tail fin. Brazilian Journal of Biology. 70(1): 218-220.

Brockes J.P. (1997). Amphibian Limb Regeneration: Rebuilding a Complex Structure. Science. 267: 81-87.

Pfefferli C., Muller F., Jazwinska A. and Wicky C. (2014). Specific NuRD components are required for fin regeneration in zebrafish. BMC biology. 12(30): 1–17.

Ratnasooriya W.D. and Dharmasiri M.G. (2002). Tender leaf extract of Terminalia catappa antinociceptive activity in rats. Pharmaceutical Biology. 40(1): 60-66.

Shao J., Qian X., Zhang C. and Xu Z. (2009). Fin regeneration from tail segment with musculature endoskeleton and scales. Journal of experimental zoology. 312(7): 762-769.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2021 — Updated on 08-02-2024

Versions