This is an outdated version published on 26-04-2021. Read the most recent version.

ผลของน้ำแช่ใบหูกวางแห้งต่อการงอกทดแทนครีบปลาทอง

ผู้แต่ง

  • ธวัฒน์ชัย งามศิริ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  • อภิวัฒน์ เหลื่อมสมบูรณ์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ใบหูกวาง, ปลาทอง, การศัลยกรรม, การงอกทดแทน

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้น้ำแช่ใบหูกวางแห้งต่อการงอกทดแทนของครีบปลาทอง โดยการทดลองตัดครีบหางตำแหน่งที่ไม่ติดโคนครีบหางทั้งหมด แล้วทำการรักษาให้มีการฟื้นฟูทดแทนส่วนที่หายไป โดยการใช้น้ำแช่ใบหูกวางที่มีความเข้มข้นต่างกัน เพื่อศึกษาอัตราการงอกทดแทน ระยะเวลาการงอกทดแทน และอัตราการรอดตายของปลา โดยแบ่งออกเป็น 4 สิ่งทดลอง
แต่ละสิ่งทดลองมี 3 ซ้ำ ประกอบด้วยสิ่งทดลองที่ 1 ใช้น้ำที่ไม่แช่ใบหูกวาง สิ่งทดลองที่ 2, 3 และ 4ใช้ใบหูกวางแห้ง 3, 6 และ 9 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าการงอกทดแทนครีบหางปลาทองได้สมบูรณ์ ใช้ระยะ 6 สัปดาห์ โดยลักษณะครีบที่งอกใหม่จะมีลักษณะสีอ่อนกว่าของเดิม ซึ่งความยาวครีบหางปลาทอง สิ่งทดลองที่ 3 และสิ่งทดลองที่ 4
มีความแตกต่างจากสิ่งทดลองที่ 1 ใช้น้ำที่ไม่แช่ใบหูกวางอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่สิ่งทดลองที่ 1 กับสิ่งทดลองที่ 2 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เปอร์เซ็นต์อัตราการรอดตาย พบว่าสิ่งทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 มีอัตราการรอดตายเท่ากับ 91.66±7.21, 100±0.00, 83.33±14.43 และ91.66±14.43 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ทางสถิติ
ผลการวิเคราะห์ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทางสถิติ (p>0.05)

เผยแพร่แล้ว

26-04-2021 — Updated on 26-04-2021

Versions