ชนิดของอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนต่อการเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังบก

ผู้แต่ง

  • เมฆ มากล้น คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • กฤติมา กษมาวุฒิ คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
  • สำเนาว์ เสาวกูล คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ต้นทุนต่ำ, อาหารธรรมชาติ, กระชังบก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของปลาดุกยักษ์ ด้วยอาหารสำเร็จรูปร่วมกับอาหารธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด ตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 ถึง เดือนธันวาคม 2563 วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) โดยใช้ฟาร์มเกษตรกรเป็นบล็อก จำนวน 3 ฟาร์ม แต่ละบล็อกสุ่มให้ได้รับชุดการทุกชุดทดลอง โดยเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังขนาด 1.5x2.0x0.3 ตารางเมตร ด้วยอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป มีองค์ประกอบโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ อาหารธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ ปลวก จิ้งหรีดและมดแดง ปล่อยปลาปลาดุกยักษ์ขนาดความยาวเฉลี่ย 10.29±0.01, 10.26±0.04 และ 10.26±0.01 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 10.19±0.36,10.18±0.10 และ10.26±0.05 กรัม ตามลำดับ เป็นระยะเวลา 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าการให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับปลวก มีความยาวเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 23.00±0.27 กรัม ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) กับการให้อาหารเม็ดร่วมกับจิ้งหรีด มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 22.75±0.22 เซนติเมตร แต่มีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) กับมดแดง ซึ่งมีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 22.06±0.06 เซนติเมตร ด้านน้ำหนักพบว่าการให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับปลวก มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 95.76±0.53 กรัม ซึ่งความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) การให้อาหารเม็ดร่วมกับมดแดงและจิ้งหรีด มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 93.67±0.58 และ 94.09±0.19 กรัม ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน ด้านอัตรารอดตาย การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และผลผลิตของปลาทั้ง 3 ชุดที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังบก พบว่าการให้อาหารเม็ดร่วมกับการให้ปลวก มีค่าผลตอบแทนสูงที่สุด คือ 55.44±2.75 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) การให้อาหารเม็ดร่วมกับจิ้งหรีด และมดแดง มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 54.01±1.16 และ 52.82±3.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

References

กลุ่มงานวิเคราะห์อาหารและโภชนาการ. (2544). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. กลุ่มงานวิเคราะห์อาหาร

และโภชนาการ กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: กรุงเทพฯ.

กมลวรรณ ศุภรัญญู, บุญศิลป์ จิตตะประพันธ์, ณิชาพล แก้วชฎา และยุทธนา สว่างอารมณ์. (2557). การถ่ายทอดเทคโนโลยี

การพัฒนาการเลี้ยงปลาดุกลูกผสมในกระชังบนดินด้วยระบบน้ำหมุนเวียนที่บำบัดด้วยผักบุ้งไฮโดรโพนิกส์. สาขาวิชาการ

ประมง (การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้: ชุมพร.

เกษม เชตะวัน และพิจิตร พันธ์ศรี. (2536). ศึกษาระดับโปรตีนที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลาดุกใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 31, 3-6 กุมภาพันธ์ 2536 . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 481–488.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.): กรุงเทพฯ.

จิตรา สิมาวัน และศุกฤชชญา เหมะธุลิน. (2554). การใช้แมลงชีปะขาวทดแทนโปรตีนในสูตรอาหารปลาหมอแปลงเพศ

(Anabas testudineus). รายงานผลการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

สกลนคร.

ฉัตร ช่ำชอง. (2526). หลักการจัดการฟาร์ม. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

ทัศนีย์ แจ่มจรรยา และยุพา หาญบุญทรง. (2557). ความสำคัญ ชนิดและคุณค่าทางโภชนาการของแมลงกินได้. สำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

ธิดารัตน์ พันโท. (2563). แมลงกินได้: คุณค่าทางโภชนาการและการแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์. วารสารอาหาร. 50(1):5–12.

นฤมล อัศวเกศมณี. (2557). โภชนศาสตร์และการให้อาหารปลา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

บราลี ทุมกานนท์. (2533). การเพาะเลี้ยงและอนุบาลปลาดุกยักษ์. สำนักพิมพ์ฟาร์มบราลี: นนทบุรี.

ประดิษฐ์ ศรีภัทรประสิทธิ์, จามินวัศน์ พิลาศเอมอร, กฤษณา เดชะสัตยา, พิมญาดา บัวสี, เจนจิรา เฉลยพจน์, อภินันท์ สมานวงษ์ และอรวรรณ ประเสริฐสุข. (ม.ป.ป.). โครงการส่งเสริมเกษตรกรด้านการประมง. กลุ่มงานพัฒนาบริหารงานส่วนภูมิภาค สำนักงานตรวจราชการกรม กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

มานพ ตั้งตรงไพโรจน์, สุจินต์ หนูขวัญ, ปกรณ์ อุ่นประเสริฐ และกำชัย ลาวัณยวุฒิ. (2533). บิ๊กอุยปลาเศรษฐกิจชนิดใหม่. สถาบัน วิจัยประมงน้ำจืด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: กรุงเทพฯ.

เมฆ มากล้น, ประณีต งามเสน่ห์, กฤติมา เสาวกูล และสำเนาว์ เสาวกูล. (2563). ผลของความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลตอบแทนของปลาดุกยักษ์ที่เลี้ยงในกระชังบก. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 11 “วิจัยและนวัตกรรมวิถีใหม่” 17–18 กันยายน 2563. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. สุรินทร์. A202.

วิภากร สฤษดิ์นิรันดร์. (2523). แมลงแหล่งอาหารที่ถูกลืม. วารสารสุขภาพสำหรับประชาชน. 8: 61–64.

วิภาวี ไทเมืองพล, วัฒนะ ลีลาภัทร, ภัททิรา เกษมศิริ, เมธาวี รอตมงคลดี และร่วมฤดี พานจันทร์. 2558. กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างความมั่นคง ในการประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ เกษตรกรบ้านยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 7(11): 34–51.

วิมล จันทรโรทัย. (2536). การวางแผนการวิจัยด้านอาหารปลา. วารสารการประมง. 46(4): 323–330.

วิรัช จิ๋วแหยม. (2561). หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการคุณภาพน้ำ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.

ศราวุธ เจ๊ะโสะ. (2538). การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนด้านการเงินของการเลี้ยงปลาสลิดแบบพัฒนาในพื้นที่พรุ จังหวัดนราธิวาส. วารสารการประมง. 48(5): 145–427.

ศรีประภา พรมนะกิจ และนุ่มนวล อุดมพงษานนท์. (2527). การวิเคราะห์คุณค่าอาหารในแมลงเม่า. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: ขอนแก่น.

ศศิธร พินภิรมย์ และมณฑล แก่นมณี. (2555). การศึกษาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืดเพื่อนำไปใช้ในการจัดการบ่อ. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 สาขาสัตวศาสตร์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ สาขาประมง. กรุงเทพฯ. 562–573.

สมหมาย เรียงสันเทียะ และอัจฉรี เรืองเดช. (2558). การใช้จิ้งหรีดเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนปลาป่นในอาหารกบ. วารสารเกษตร พระจอมเกล้า. 33(2): 102–109.

สราวุธ เย็นเอง และสุธี เกื้อเกตุ. (2561). การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยงโดยให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับการเสริมอาหารช่วงกลางคืนด้วยแมลงบินจากกับดักเครื่องดูดแมลงอัตโนมัติ. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษา. 2(2): 19–29.

สุรพล ชลดำรงค์กุล และ ภานุวัฒน์ ทรัพย์ปรุง. (2530). การศึกษาเบื้องต้นในการเพิ่มคุณค่าทางอาหารของมูลสัตว์โดยชีววิธีเพื่อใช้เป็นอาหารปลา. ใน การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 25 สาขาสัตว์ 3–5 กุมภาพันธ์ 2530, กรุงเทพฯ. 216–228.

สำเนาว์ เสาวกูล. (2561). ปลาดุก: การเพาะเลี้ยงและบทบาทในระบบนิเวศน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท: สุรินทร์.

สำเนาว์ เสาวกูล และหทัยรัตน์ เสาวกูล. (2551). ความสามารถในการจับกินลูกปลาและประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของปลาดุกยักษ์. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 46 “เกษตรศาสตร์เทิดพระเกียรติ 80 พรรษา เพื่อประชาไทยอยู่เย็นเป็นสุข” 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2551. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 515–524.

อุทัยรัตน์ ณ นคร. (2544). ปลาดุก: การเพาะขยายพันธุ์ การเลี้ยงและโรคต่าง ๆ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

Akinwole A.O. and Faturoti E.O. (2007). Biological performance of African catfish (Clarias gariepinus) cultured in recirculating system in Ibadan. Aquaculture engineering. 36: 18–23.

APHA-AWWA-WEF. (1992). Standard methods for the examination of water and wastewater, 14ed, American public health association: Washington D.C.

Arru B., Furesi R., Gasco L., Madau F.A. and Pulina P. (2019). The introduction of insect meal into fish diet: The first economic analysis on european sea bass farming. Sustainability. 11(1697): 1–16.

Avnimelech Y. (2014). เทคโนโลยีไบโอฟล็อก : หนังสือแนะนำการปฏิบัติ แปลจาก Biofloc technology a practical guidebook. โดย สุชาติ อิงธรรมจิตร์. สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.

Boyd C.E. (1990). Water quality in pond for aquaculture. Alabama agricultural experiment station, Auburn University: Auburn Alabama.

De Graaf G.J. and Janssen H. (1996). Artificial reproduction and pond rearing of the African catfish Clarias gariepinus in sub-Sa¬haran Africa–a handbook. FAO Fisheries Technical Paper. No. 362. FAO: Rome. FAO. (2018). Fishery and aquaculture statistics. Rome. accessed 13 Jan. 2021. http://www.fao.org /3/cb1213t/CB1213T.pdf.

Govaerts F. (2018). Introducing insect-based salmon feed: From a nutritional, economic, legal and marketing perspective. Master’s thesis in international fisheries management. Faculty of biosciences, Fisheries and economics, The Arctic university of Norway.

Hecht T. (2013). A review of on-farm feed management practices for North African catfish (Clarias gariepinus) in sub-Saharan Africa. In M.R. Hasan and M.B. New, eds. On-farm feeding and feed management in aquaculture. FAO Fisheries and Aquaculture Technical Paper No. 583 FAO. Rome. 463–479.

Henry M., Gasco L., Piccolo G. and Fountoulaki E. (2015). Review on the use of insects in the diet of farmed fish: Past and future. Animal Feed Science and Technology. 203: 1–22

Hey D. (1941). Practical freshwater fish culture. Cape Nature Conservation: Cape Town.

Isyagi N.A., Veverica K.L., Asiimwe R. and Daniels W.H. (2009). Manual for the commercial pond production of the African catfish in Uganda. USAID-FISH Project.

Nogales-Merida S., Gobbi P., Jozefiak D., Mazurkiewicz J., Dudek K., Rawski M., Kieronczyk B. and Jozefiak A. (2019). Insect meals in fish nutrition. Reviews in Aquaculture (2019). 11: 1080–1103

Okomoda V.T. (2018). Hybridization between Pangasianodon hypophthalmus (Sauvage, 1878) and Clarias gariepinus (Burchell,1822). Doctor of Philosophy in Fisheries. University Malaysia Terengganu.

Okomoda V.T., Aminem W.b., Hassan A.c. and Martins C.O. (2019). Effects of feeding frequency on fry and fingerlings of African catfish Clarias gariepinus. Aquaculture. 511: 734232.

Pulina P., Arru B., Madau F.A., Furesi R. and Gasco L. (2018). Insect meal in the fish diet and feeding cost: First economic simulations on European sea bass farming by a case study in Italy. In 30th International conference agriculture economists July 28–August 2, 2018. Vancouver.

Rutaisire J. (2007). Analysis of feeds and fertilizers for sustainable aquaculture development in Uganda. In Hasan M.R., Hecht T., De Silva S.S. and Tacon A.G.J., Editors. Study and analysis of feeds and fertilizers for sustainable aquaculture development. FAO Fisheries Technical Paper No. 497: Rome. 471–487.

Ryman N. (1981). Conservation of genetic resources: Experiences from the brown trout (Salmo trutta). In Ryman N., Editor. Fish Gene Pools. Ecological Bulletins No.34. The Editorial Service of FRN. Stockholm. 61–74.

Trans G., Heuzé, V and Makkar H.P.S. (2015). Insects in fish diets. Food and Agriculture Organization of the United Nations, Animal Production and Health Division, Rome. 5(2): 37–44.

เผยแพร่แล้ว

26-04-2021 — Updated on 08-02-2024

Versions