ชนิดของอาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนต่อการเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังบก
คำสำคัญ:
ต้นทุนต่ำ, อาหารธรรมชาติ, กระชังบกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของปลาดุกยักษ์ ด้วยอาหารสำเร็จรูปร่วมกับอาหารธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาและองค์ความรู้ของชุมชน ณ บ้านโนนสะอาด ตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเดือน ตุลาคม 2563 ถึง เดือนธันวาคม 2563 วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ (RCBD) โดยใช้ฟาร์มเกษตรกรเป็นบล็อก จำนวน 3 ฟาร์ม แต่ละบล็อกสุ่มให้ได้รับชุดการทุกชุดทดลอง โดยเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังขนาด 1.5x2.0x0.3 ตารางเมตร ด้วยอัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร โดยให้อาหารเม็ดสำเร็จรูป มีองค์ประกอบโปรตีน 32 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ อาหารธรรมชาติ 3 ชนิด ได้แก่ ปลวก จิ้งหรีดและมดแดง ปล่อยปลาปลาดุกยักษ์ขนาดความยาวเฉลี่ย 10.29±0.01, 10.26±0.04 และ 10.26±0.01 เซนติเมตร และน้ำหนักเฉลี่ย 10.19±0.36,10.18±0.10 และ10.26±0.05 กรัม ตามลำดับ เป็นระยะเวลา 60 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่าการให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับปลวก มีความยาวเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 23.00±0.27 กรัม ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) กับการให้อาหารเม็ดร่วมกับจิ้งหรีด มีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 22.75±0.22 เซนติเมตร แต่มีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) กับมดแดง ซึ่งมีความยาวเฉลี่ยเท่ากับ 22.06±0.06 เซนติเมตร ด้านน้ำหนักพบว่าการให้อาหารสำเร็จรูปร่วมกับปลวก มีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 95.76±0.53 กรัม ซึ่งความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) การให้อาหารเม็ดร่วมกับมดแดงและจิ้งหรีด มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 93.67±0.58 และ 94.09±0.19 กรัม ตามลำดับ เช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และน้ำหนักเพิ่มเฉลี่ยต่อวัน ด้านอัตรารอดตาย การเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ และผลผลิตของปลาทั้ง 3 ชุดที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) และเมื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุนเลี้ยงปลาดุกยักษ์ในกระชังบก พบว่าการให้อาหารเม็ดร่วมกับการให้ปลวก มีค่าผลตอบแทนสูงที่สุด คือ 55.44±2.75 เปอร์เซ็นต์ โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) การให้อาหารเม็ดร่วมกับจิ้งหรีด และมดแดง มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเท่ากับ 54.01±1.16 และ 52.82±3.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 08-02-2024 (3)
- 26-04-2021 (2)
- 26-04-2021 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น