This is an outdated version published on 20-09-2022. Read the most recent version.

การผลิตแคลเซียมแลคเตทจากเปลือกหอยตลับเหลือทิ้งเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

Calcium lactate production from clam shell waste to reduce environmental issues

ผู้แต่ง

  • หยก วงษ์ชมภู
  • บรรจง บุญชม
  • นที โอ้ภาษี
  • สรกิจจ์ มงคล
  • ธนา กั่วพานิช
  • จินดา ไชยช่วย
  • บุปผา จงพัฒน์

คำสำคัญ:

เปลือกหอยตลับเหลือทิ้ง , แคลเซียมคาร์บอเนต , แคลเซียมแลคเตท , กรดแลคติค

บทคัดย่อ

เปลือกหอยตลับเหลือทิ้งถูกใช้เป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์สารประกอบแคลเซียมแลคเตท (Ca(C2H4OHCOO)2.5H2O ) โดยของเสียจากเปลือกหอยตลับจะถูกบดละเอียดซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักแล้วนำมาทำปฏิกิริยากับกรดแลคติค ความเข้มข้นต่าง ๆ (6, 8, และ 10 โมลาร์) โดยตัวแปรที่ดีที่สุดในการสังเคราะห์ที่ใช้พิจารณา คือ ระยะเวลาที่สั้นในการเตรียมและร้อยละผลผลิตสูง ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของกรดแลคติคที่เหมาะสม คือ 10 โมลาร์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเตรียม 1 ชั่วโมง และให้ร้อยละผลผลิต 93.86 สารตัวอย่างที่เตรียมได้ทั้งหมดจะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ TGA XRD SEM XRF และ FTIR เพื่ออธิบายสมบัติเชิงความร้อน โครงสร้างของผลึก สัณฐานวิทยา การวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุ และ การวิเคราะห์รูปแบบการสั่น เพื่อยืนยันการเกิดสารประกอบแคลเซียมแลคเตท งานวิจัยนี้รายงานเทคนิคการเตรียมการผลิตแคลเซียมแลคเตทที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และราคาไม่แพง เพื่อลดของเสียจากเปลือกซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022 — Updated on 20-09-2022

Versions