การผลิตแคลเซียมแลคเตทจากเปลือกหอยตลับเหลือทิ้งเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

Calcium lactate production from clam shell waste to reduce environmental issues

ผู้แต่ง

  • หยก วงษ์ชมภู คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • บรรจง บุญชม คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • นที โอ้ภาษี คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • สรกิจจ์ มงคล คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ธนา กั่วพานิช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • บุปผา จงพัฒน์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • จินดา ไชยช่วย คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

เปลือกหอยตลับเหลือทิ้ง , แคลเซียมคาร์บอเนต , แคลเซียมแลคเตท , กรดแลคติค

บทคัดย่อ

เปลือกหอยตลับเหลือทิ้งถูกใช้เป็นสารตั้งต้น ในการสังเคราะห์สารประกอบแคลเซียมแลคเตท (Ca(C2H4OHCOO)2.5H2O ) โดยของเสียจากเปลือกหอยตลับจะถูกบดละเอียดซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักแล้วนำมาทำปฏิกิริยากับกรดแลคติค ความเข้มข้นต่าง ๆ (6, 8, และ 10 โมลาร์) โดยตัวแปรที่ดีที่สุดในการสังเคราะห์ที่ใช้พิจารณา คือ ระยะเวลาที่สั้นในการเตรียมและร้อยละผลผลิตสูง ผลการทดลองพบว่า ความเข้มข้นของกรดแลคติคที่เหมาะสม คือ 10 โมลาร์ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการเตรียม 1 ชั่วโมง และให้ร้อยละผลผลิต 93.86 สารตัวอย่างที่เตรียมได้ทั้งหมดจะถูกนำไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ TGA XRD SEM XRF และ FTIR เพื่ออธิบายสมบัติเชิงความร้อน โครงสร้างของผลึก สัณฐานวิทยา การวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุ และ การวิเคราะห์รูปแบบการสั่น เพื่อยืนยันการเกิดสารประกอบแคลเซียมแลคเตท งานวิจัยนี้รายงานเทคนิคการเตรียมการผลิตแคลเซียมแลคเตทที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และราคาไม่แพง เพื่อลดของเสียจากเปลือกซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม

References

สุภกร บุญยืน. (2558). การสลายตัวของแคลเซียมคาร์บอเนตในเปลือกหอย. วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัตตะ ฮาแว, พนิตา สุมานะตระกูล, ชัยรัตน์ ศิริพัธนะ และนิติธร ชูศรี. (2558). การสังเคราะห์อนุภาคนาโนแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกหอยแครงด้วยเทคนิค การขยายตัวอย่างรวดเร็วของแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เหนือสภาวะวิกฤต. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 18(2): 31-45.

วิจิตรา แดงปรก และปิยวรรณ ศุภวิทิตพัฒนา. (2550). โยเกิร์ตน้ำนมข้าวโพดเสริมแคลเซียมจากเปลือกไข่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Jingbo Y. and Songyi L. (2013). Optimized Preparation of Eggshells Calcium Citrate (ESCC) by PEF Technology and its Accumulation in Mice Bone. 2013 4th International Conference on Food Engineering and Biotechnology. 2013(50): 136-141.

Kabekkodu T., Blanton S. and Blanton T. (2017). Chemical analysis by diffraction: the Powder Diffraction File™. Powder Diffraction. 32(2): 63-71.

Omran K.H., Mostafa M., AbdEl-sadek M.S., Hemeda O.M. and Ubic R. (2020). Effects of Ca doping on structural and optical properties of PZT nano powders. Results in Physics. 19(103580).

Tsuruma A., Nomoto Y., Nishio M., Ishikawa M. and Sawai J. (2020). Efficacy of sorbitol-coated heated scallop-shell powder for the antimicrobial treatment of fresh vegetables. Food Control. 110(106972)

Nguyen D.H., Boutouil M., Sebaibi N., Leleyter L. and Baraud F. (2013). Valorization of seashell by-products in pervious concrete pavers, Construction and Building Materials. 49: 151–160.

Eziefula J.C., Ezeh U.G. and Eziefula B. I. (2018). Properties of seashell aggregate concrete: a review. Construction and Building Materials. 192: 287–300.

Lu J.Y., Carter E. and Chung R.A. (1980). Use of calcium salts for soybean curd preparation. Journal of Food Science. 45(1):32-34.

Nolan C.R. and Qunibi W.Y. (2013). Calcium salts in the treatment of hyperphosphatemia in hemodialysis

patients. Current Opinion in Nephrology and Hypertension. 12(4): 373–379.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions