การศึกษาปัจจัยมีผลต่อสมบัติทางกลของการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติด้วยแขนหุ่นยนต์ 6 แกน
The study of factors affecting mechanical properties of 3D printing with 6-axis robotic arm
คำสำคัญ:
การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ, การพิมพ์สามมิติ, หุ่นยนต์แขนกล , การออกแบบการทดลองแบบทากูชิบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างระบบการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติด้วยแขนหุ่นยนต์ 6 แกน ด้วยระบบป้อนเส้นใยพลาสติกชนิด ABS ที่ควบคุมผ่านโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอลโทรลเลอร์ โดยศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อสมบัติทางกลของเปอร์เซ็นต์การยึดตัวของพลาสติกที่พิมพ์ขึ้นด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบทากูชิ (Taguchi) สำหรับออร์ทอกอนัลแอร์เรย์แอล 9 (33) โดยมีปัจจัยควบคุม 3 ตัวแปร 3 ระดับ คือ สัญญาณพัลส์ 180, 190, 200 และระยะห่างระหว่างเส้นใยพลาสติก 0.9, 1.0, 1.1 มิลลิเมตร และอุณหภูมิหลอมละลายเส้นใยพลาสติก 190, 200, 210 องศาเซลเซียส จากผลการทดลองพบว่า ผลลัพธ์ของปัจจัยที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากระดับอัตราส่วนสัญญาณต่อสิ่งรบกวน (Signal to-Noise Ratio; S/N) ที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สัญญาณพัลส์ 200 และระยะห่างระหว่างเส้นใยพลาสติก 0.9 มิลลิเมตร และความร้อนสำหรับการละลายเส้นใยพลาสติก 210 องศาเซลเซียส และมีค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัวมากที่สุดอยู่ที่ 3.422%
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-08-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น