This is an outdated version published on 30-08-2022. Read the most recent version.

ความหลากหลายของตัวอ่อนแมลงปอในลำธารและแม่น้ำบางพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย

Diversity of dragonfly larvae in some parts of northern Thailand

ผู้แต่ง

  • ชฏยาธร พัฒนรักษ์ ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ
  • บุญเสฐียร บุญสูง

คำสำคัญ:

ความหลากชนิด, แมลงปอ , การกระจายตัว

บทคัดย่อ

ศึกษาความหลากหลายของตัวอ่อนแมลงปอ (อันดับ Odonata อันดับย่อย Anisoptera) ในลำธารและแม่น้ำพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ น่าน และเชียงราย ทั้งหมด 18 สถานี ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564 เก็บตัวอย่างตัวอ่อนด้วยสวิง นำมาเลี้ยงเชื่อมโยงในห้องปฏิบัติการ ตัวอ่อนแมลงปอที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ถูกระบุชนิดด้วยวิธีการดีเอ็นเอบาร์โค้ดด้วยยีน COI พบตัวอ่อนแมลงปอทั้งสิ้น 291 ตัว จำแนกได้ 5 วงศ์ 17 สกุล 23 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Aeshnidae วงศ์ Gomphidae วงศ์ Libellulidae วงศ์ Macromiidae และวงศ์ Synthemistidae ตัวอ่อนแมลงปอวงศ์ Gomphidae (13 ชนิด) มีความหลากหลายมากที่สุด รองลงมาคือ วงศ์ Libellulidae และวงศ์ Aeshnidae ตามลำดับ สามารถเลี้ยงเชื่อมโยงตัวอ่อนและตัวเต็มวัยได้ 3 ชนิด คือ Idionyx selysi Paragomphus capriconis และ Tetracanthagyna plagiata เมื่อเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของยีน COI กับฐานข้อมูล GenBank และ BOLD ยืนยันได้ 3 ชนิด คือ Heliogomphus selysi Pantala flvescens และ Trithemis festiva ผลการวิเคราะห์การจัดอันดับด้วย PCA พบว่า การกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงปอมีความสัมพันธ์กับพื้นที่แต่ละจังหวัดโดยตัวอ่อนแมลงปอ Megalogomphus sp. Stylogomphus sp. และ Idionyx sp. มีความสัมพันธ์กับสถานีพื้นที่จังหวัดเชียงราย สถานีพื้นที่ไม่ถูกรบกวนและสถานีลำธารต้นน้ำพบการกระจายตัวของตัวอ่อนแมลงปอมากกว่าสถานีพื้นที่ที่ถูกรบกวนและสถานีแม่น้ำตื้น

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022

Versions