ผลของความเค็มต่ออัตราการจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และอัตราการรอดตายของ ตัวอ่อนระยะซูเอียของปูแป้น (Varuna yui Hwang & Takeda, 1984)

Effect of Salinity on Mating, Hatching and Survival Rate of the Zoea Larvae of Sundaic Paddler Crab (Varuna yui Hwang & Takeda, 1984)

ผู้แต่ง

  • ดุสิต ศรีวิไล คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • พิริยาภรณ์ อันอาตม์งาม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • อมรรัตน์ สุวรรณโพธิ์ศรี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • พัชรา นิธิโรจน์ภักดี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
  • กรรณิการ์ เจริญสุข คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี

คำสำคัญ:

ปูแป้น, ความเค็ม, การจับคู่ผสมพันธุ์, การฟักไข่, อัตราการรอดตาย

บทคัดย่อ

ปูแป้น (Varuna yui) เป็นปูแสมชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาประชากรปูแป้นลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องจากถูกจับขึ้นมาบริโภคเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มจำนวนประชากรปูแป้นในธรรมชาติ โดยทำการทดลองผลของระดับความเค็มของน้ำ 7 ระดับ (0, 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพัน) ต่ออัตราจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และการรอดตายของลูกปูระยะซูเอีย 1 ของปูแป้น ผลการศึกษาพบว่าความเค็มมีผลต่อการจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และการรอดตายของลูกปูระยะซูเอีย 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปูแป้นไม่จับคู่ผสมพันธุ์และไม่ฟักไข่ที่ระดับความเค็ม 0 ถึง 15 ส่วนในพัน และการจับคู่ผสมพันธุ์ร้อยละ 100 เกิดขึ้นที่ระดับความเค็ม 20 และ 25 ส่วนในพัน จำนวนลูกปูระยะซูเอีย 1 ที่ฟักในระดับความเค็ม 20 และ 25 ส่วนในพัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำลูกปูระยะซูเอีย 1 ไปอยู่ในความเค็มต่างกัน 7 ระดับ พบว่าลูกปูระยะเอีย 1 ไม่สามารถอยู่รอดได้ที่ระดับความเค็ม 0 และ 5 ส่วนในพัน และลูกปูระยะซูเอีย 1 ที่อยู่ในความเค็ม 20 มีอัตราการรอดตายสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าระดับความเค็มที่เหมาะสมสำหรับการเพาะพันธุ์ปูแป้นและปล่อยลูกปูระยะซูเอีย 1 สู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน คือ ระดับความเค็ม 20 ถึง 25 ส่วนในพัน

References

ดุสิต ศรีวิไล, มนัส คงศักดิ์, ญาณนันท์ สุนทรกิจ, วัชระ น้อยคงคา, พินัย พยม และสัมพันธ์ จันทร์รักษ์. (2553). ชีววิทยาบางประการและการอพยพของปูแป้น (Varuna yui) ในบริเวณแม่น้ำเวฬุ: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร และศุภางค์ ชำปฏิ. (2542). ผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของไข่ในปูม้า (Portunus pelagicus) เพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 16(2): 16-22.

บรรจง เทียนส่งรัศมี. (2552). ปูแสม…กำลังวิกฤติ ร่วมคิดร่วมเลี้ยงปูดูแลป่า แก้ปัญหาพัฒนาป่าชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), กรุงเทพฯ.

พรรัตน์ สุขประเสริฐ, ปิยาลัย เหมทานนท์ และสรรเสริญ ช่อเจี้ยง. (2551). ความเป็นด่างของน้ำที่เหมาะมต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของลูกปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) ที่อนุบาลในบ่อคอนกรีต. เอกสารวิชาการฉบับที่ 59/2551. ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งนครศรีธรรมราช, สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชาฝั่ง, กรมประมง.

วาสนา อากรรัตน์ และวุฒิชัย อ่อนเอี่ยม. (2555). ผลของไดอะตอม Thalassiosira spp. ต่ออัตราการรอดตายและพัฒนาการของลูกปูม้า (Portunus pelagicus) วัยอ่อนระยะซูเอี้ย 1 ถึง 4. วารสารแก่นเกษตร. 40:61-68.

Anger K., Harms J., Montu M. and Bakker C. (1990). Effects of salinity on the larval development of a semiterrestrial tropical crab, Sesarma angustipes (Decapoda: Grapsidae). Marine Ecology Progress Series. 62: 89–94.

Anger K. (1991). Effects of temperature and salinity on the larval development of the Chinese mitten crab Eriocheir sinensis (Decapoda: Grapsidae). Marine Ecology Progress Series. 72: 103–110.

Anger K. (2003). Salinity as a key parameter in the larval biology of decapod crustaceans. Invertebrate Reproduction & Development. 43(1): 29-45.

APHA, AWWA and WPCF. (2009). Standard methods for the examination of water and wastewater. American Public Health Association Washington.

Carpenter K.E. and Niem V.H., editors. (1998). FAO species identification guide for fishery purposes: the living marine resources of the Western Central Pacific: cephalopods, crustaceans, holothurians and sharks. Vol. 2 Rome: FAO; 687–1396.

Charmantier G. (1998). Ontogeny of osmoregulation in crustaceans: a review. Invertebrate Reproduction and Development. 33: 177–190.

Felix N. and Sudharsan M. (2004). Effect of glycine betaine, a feed attractant affecting growth and feed conversion of juvenile freshwater prawn Macrobrachium rosenbergii. Aquaculture Nutrition. 10: 193-197.

Gilles R. (1983). Volume maintenance and regulation in animal cells: Some features and trends. Molecular Physiology. 90(4): 3-16.

Gimenez L. and Anger K. (2001). Relationships among salinity, egg size, embryonic development, and larval biomass in the estuarine crab Chasmagnathus granulata Dana, 1851. Journal Experimental Marine Biology and Ecology. 260: 241–257

Hwang J. and Takeda M. (1986). A new freshwater crab of the family Graspidaefrom Taiwan. Proceedings of the Japanese Society of Systematic Zoology. 33: 11-18.

Naiyanetr P. (1998). Check list of crustacean fauna in Thailand. Office for environmental policy and planning, Bangkok.

Simith D.J.B., Souza A.S., Maciel C.R., Abrunhosa F.A. and Diele K. (2012). Influence of salinity on the larval development of the fiddler crab Uca vocator (Ocypodidae) as an indicator of ontogenetic migration towards offshore waters. Helgoland Marine Research. 66: 77–85.

Taylor H.H. and Seneviratna D. (2005). Ontology of salinity tolerance and hyper-osmoregulation by embryos of the intertidal crabs Hemigrapsus edwardsi, Hemigrapsus crenulatus (Decapoda, Grapsidae): Survival of acute hyposaline exposure. Comparative Biochemistry and Physiology. 140(4): 495-505.

Torres G., Gimenez L. and Anger K. (2011). Growth, tolerance to low salinity, and osmoregulation in decapod crustacean larvae. Aquatic Biology. 12: 249-260.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022 — Updated on 19-02-2024

Versions