This is an outdated version published on 30-08-2022. Read the most recent version.

ผลของความเค็มต่ออัตราการจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และอัตราการรอดตายของ ตัวอ่อนระยะซูเอียของปูแป้น (Varuna yui Hwang & Takeda, 1984)

Effect of Salinity on Mating, Hatching and Survival Rate of the Zoea Larvae of Sundaic Paddler Crab (Varuna yui Hwang & Takeda, 1984)

ผู้แต่ง

  • ดุสิต ศรีวิไล
  • ปฐมาภรณ์ ทิลารักษ์
  • พิริยาภรณ์ อันอาตม์งาม
  • อมรรัตน์ สุวรรณโพธิ์ศรี
  • พัชรา นิธิโรจน์ภักดี
  • กรรณิการ์ เจริญสุข

คำสำคัญ:

ปูแป้น, ความเค็ม, การจับคู่ผสมพันธุ์, การฟักไข่, อัตราการรอดตาย

บทคัดย่อ

ปูแป้น (Varuna yui) เป็นปูแสมชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ในช่วงเวลากว่าสิบปีที่ผ่านมาประชากรปูแป้นลดจำนวนลงอย่างมากเนื่องจากถูกจับขึ้นมาบริโภคเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วงฤดูผสมพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเพิ่มจำนวนประชากรปูแป้นในธรรมชาติ โดยทำการทดลองผลของระดับความเค็มของน้ำ 7 ระดับ (0, 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 ส่วนในพัน) ต่ออัตราจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และการรอดตายของลูกปูระยะซูเอีย 1 ของปูแป้น ผลการศึกษาพบว่าความเค็มมีผลต่อการจับคู่ผสมพันธุ์ การฟักไข่ และการรอดตายของลูกปูระยะซูเอีย 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ปูแป้นไม่จับคู่ผสมพันธุ์และไม่ฟักไข่ที่ระดับความเค็ม 0 ถึง 15 ส่วนในพัน และการจับคู่ผสมพันธุ์ร้อยละ 100 เกิดขึ้นที่ระดับความเค็ม 20 และ 25 ส่วนในพัน จำนวนลูกปูระยะซูเอีย 1 ที่ฟักในระดับความเค็ม 20 และ 25 ส่วนในพัน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) เมื่อนำลูกปูระยะซูเอีย 1 ไปอยู่ในความเค็มต่างกัน 7 ระดับ พบว่าลูกปูระยะเอีย 1 ไม่สามารถอยู่รอดได้ที่ระดับความเค็ม 0 และ 5 ส่วนในพัน และลูกปูระยะซูเอีย 1 ที่อยู่ในความเค็ม 20 มีอัตราการรอดตายสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าระดับความเค็มที่เหมาะสมสำหรับการเพาะพันธุ์ปูแป้นและปล่อยลูกปูระยะซูเอีย 1 สู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน คือ ระดับความเค็ม 20 ถึง 25 ส่วนในพัน

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022

Versions