This is an outdated version published on 30-08-2022. Read the most recent version.

ผลของน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ ที่มีต่อผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญา

The effects of various fermented bio-extract on yield of Thai striped eggplant (Solanum melongena L.) variety Nang Pha Ya

ผู้แต่ง

  • กมลมนัส วัฒนา Rajamangala University of Technology Tawan-ok
  • รุ่งอรุณ พันธุ์เครือ
  • อารียา ศรีไพล

คำสำคัญ:

น้ำหมักชีวภาพ, มะเขือเปราะ, ผลผลิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ส่งผลต่อผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 สิ่งทดลอง ๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่  1) ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก) 2) ปุ๋ยน้ำหมักจากรกสุกร 3) ปุ๋ยน้ำหมักจากน้ำนม 4) ปุ๋ยน้ำหมักจากมะละกอ และ 5) ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้า จากผลการทดลองพบว่า ผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาที่ได้จากการไม่ใช้ปุ๋ยและใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแต่ละชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพช่วยส่งเสริมปริมาณผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาได้ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก และการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้ามีแนวโน้มส่งผลให้จำนวนผลและผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญามีค่าที่ดีกว่าการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม สามารถส่งผลให้มะเขือเปราะพันธุ์นางพญามีน้ำหนักผลดี และน้ำหนักรวมทั้งหมดต่อต้น มีค่าที่ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้า และยังสามารถลดปริมาณน้ำหนักผลเสียต่อต้น และจำนวนผลเสียต่อต้นได้อีกด้วย จากผลการวิเคราะห์รายได้และต้นทุนในการผลิตมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาในพื้นที่ 1 ไร่ กรรมวิธีที่มีต้นทุนต่ำสุด และได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรดีที่สุด ได้แก่ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรสามารถนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยน้ำหมักสำเร็จรูปทางการค้า เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้ปุ๋ยเคมี และผู้บริโภคได้รับคุณค่าทางโภชนาการอย่างปลอดภัยไร้สารเคมีเจือปนได้

เผยแพร่แล้ว

30-08-2022

Versions