ผลของน้ำหมักชีวภาพสูตรต่าง ๆ ที่มีต่อผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญา
The effects of various fermented bio-extract on yield of Thai striped eggplant (Solanum melongena L.) variety Nang Pha Ya
คำสำคัญ:
น้ำหมักชีวภาพ, มะเขือเปราะ, ผลผลิตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของชนิดของปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ส่งผลต่อผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญา วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 สิ่งทดลอง ๆ ละ 10 ซ้ำ ได้แก่ 1) ชุดควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก) 2) ปุ๋ยน้ำหมักจากรกสุกร 3) ปุ๋ยน้ำหมักจากน้ำนม 4) ปุ๋ยน้ำหมักจากมะละกอ และ 5) ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้า จากผลการทดลองพบว่า ผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาที่ได้จากการไม่ใช้ปุ๋ยและใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแต่ละชนิดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพช่วยส่งเสริมปริมาณผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาได้ดีกว่าการไม่ใส่ปุ๋ยน้ำหมัก และการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้ามีแนวโน้มส่งผลให้จำนวนผลและผลผลิตของมะเขือเปราะพันธุ์นางพญามีค่าที่ดีกว่าการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม สามารถส่งผลให้มะเขือเปราะพันธุ์นางพญามีน้ำหนักผลดี และน้ำหนักรวมทั้งหมดต่อต้น มีค่าที่ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพสำเร็จรูปทางการค้า และยังสามารถลดปริมาณน้ำหนักผลเสียต่อต้น และจำนวนผลเสียต่อต้นได้อีกด้วย จากผลการวิเคราะห์รายได้และต้นทุนในการผลิตมะเขือเปราะพันธุ์นางพญาในพื้นที่ 1 ไร่ กรรมวิธีที่มีต้นทุนต่ำสุด และได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรดีที่สุด ได้แก่ การใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากน้ำนม ซึ่งสามารถเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรสามารถนำมาใช้ทดแทนปุ๋ยน้ำหมักสำเร็จรูปทางการค้า เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้ปุ๋ยเคมี และผู้บริโภคได้รับคุณค่าทางโภชนาการอย่างปลอดภัยไร้สารเคมีเจือปนได้
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2565). เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน: มีอะไรในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565. https://shorturl.asia/345Cv
จานุลักษณ์ ขนบดี. (2541). การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.
ฌานิกา แซ่แง่ ชูกลิ่น, อเนก สาวะอินทร์ และสุดนัย เคลือหลี. (2565). ผลของน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลาเหลือทิ้งด้วยเชื้อ Lactobacillus casei ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของผักกวางตุ้งฮ่องเต้. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 14(1): 253-265.
ณัฏฐ์วรินท์ ธุวะคำ และวัชรี ฟั่นเฟือนหา. (2562). ศึกษาประสิทธิภาพของน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากเมล็ดลําไยและเปลือกลําไยเปลือกกล้วยน้ำว้า และเปลือกแตงโมต่อการเจริญเติบโตของผักสลัดกรีนโอ๊ค. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 44(2): 266-272.
พรพิมล เรืองศิริ. (2544). สวนสวยกินได้. สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชัน: กรุงเทพฯ.
ภารดี แซ่อึ้ง, อรุณี อุทัยพิบูลย์ และสิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์. (2563). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสด (Glycine max (L.) Merill). วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(2): 59-66.
ยงยุทธ โอสถสภา. (2552). ธาตุอาหารพืช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: กรุงเทพฯ.
รุจิรา สัมมะสุต. (2550). มะเขือ. วารสารเคหการเกษตร. 7: 195-196.
สุจิตรา เรืองเดชาวิวัฒน์, พรวิภา สะนะวงศ์ และอรพรรณ เถื่อนรอด. (2565). ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวพันธุ์ กข 41. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 14(19): 1-11.
สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรมพัฒนาที่ดิน: กรุงเทพฯ.
อธิศพัฒน์ วรรณสุทธิ์. (2558). ปราชญ์เกษตรผลิต NGV ด้วยเศษอาหารและจุลินทรีย์หน่อกล้วย. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2565. https://www.rakbankerd.com/agriculture/rbk-view.php?id=176
อาณัฐ ตันโช. (2549). เกษตรธรรมชาติประยุกต์: หลักการ แนวคิด เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.
Aslam M., Travis R.L. and Rains D.W. (2001). Enhancement of nitrate reductase activity and metabolic nitrate concentration by methionine sulfoximine in barley roots. Plant Sciences. 161(1): 133-142.
Ghaly A.E., Ramakrishnan V.V., Brooks M.S., Budge S.M. and Dave D. (2013). Fish processing wastes as a potential source of proteins, amino acids, and oils: a critical review. Journal of Microbial & Biochemical Technology. 5(4): 107-129.
Shi S., Li J., Guan W. and Blersch, D. (2018). Nutrient value of fish manure waste on lactic acid fermentation by Lactobacillus pentosus. The Royal Society of Chemistry. 8: 31267-31274.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 19-02-2024 (2)
- 30-08-2022 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น