ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อน ด้วยซิงค์ออกไซด์ผสมสารสกัดจากขิง ข่า และไพล

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ สมฤทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • วรุตม์ คุณสุทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ธีระวิทย์ พลโคกก่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • อารีรัตน์ เมืองแสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ปัฐพงศ์ เทียมตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ชนิตา บุตรรัตนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • นิรันดร์ชนันท์ ชาญชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ณัฐฐิญา สุดชารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ซิงค์ออกไซด์, กระบวนการโซล-เจล, โรคราน้ำค้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อนของซิงค์ออกไซด์ร่วมกับขิง ข่า และไพล โดยเตรียมซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีการโซล-เจล และเผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำซิงค์ออกไซด์ที่ได้มาผสมกับสารสกัดจากขิง ข่า และไพล แล้วทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบ      เมล่อน จากการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกโตมิเตอร์ (X-ray Diffractometer: XRD) พบว่า มีโครงสร้างผลึกแบบเฮกซะโกนอล โดยมีขนาดผลึก 58.07 นาโนเมตร ส่วนการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่มีสมรรถนะสูงชนิดฟิลด์อีมิสชัน (Field Emission Scanning Electron Microscope: FE-SEM) พบว่าซิงค์ออกไซด์มีลักษณะของอนุภาคเป็นแท่งกลมซ้อนทับกัน และเมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี (Fourier Transform Infrared Spectroscopy: FT-IR) ของสารสกัดขิง ข่า และไพล พบว่ามีพันธะ O-H พันธะ C-H พันธะ C=O พันธะ C=C-C=C และพันธะ C-O จากการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อนของซิงค์ออกไซด์และสารสกัดขิง ข่า และไพล กับอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีความเข้มข้น 4,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก พบว่า ซิงค์ออกไซด์ที่ผสมสารสกัดจากข่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งที่สูงที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 68.40 รองลงมา คือ ไพล และขิง โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 67.29 และ 46.47 ตามลำดับ

References

กนกอร อัมพรายน์, อนันต์ พิริยะภัทรกิจ, ปวริศ ตั้งบวรธรรมา และศิริพร เปรมฤทธิ์. (2563). การผลิตเมล่อนแบบให้ปุ๋ยครั้งเดียว. Thai Journal of Science and Technology. 9(2): 211-217.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). เตือนภัย “ระวังโรคราน้ำค้างพืชตระกูลแตง”. ค้นเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565. http://www.wdoae.doae.go.th/wp2018.

ฉัตร ผลนาค. (2560). อนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์กับการต้านเชื้อจุลชีพก่อโรค. Thai Journal of Physics. 34(3-4): 37-47.

ชาลิสา ศรีหอม, อรอุมา เพียซ้าย, เนตรนภิส เขียวขำ และจำเริญ บัวเรือง. (2562). ประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากพืชวงศ์ขิงต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium sp. สาเหตุโรคเหี่ยวแคนตาลูปในห้องปฏิบัติการ. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57 29 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2562. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ. 1-8.

นิสาชล เทศศรี และการะเกด เทศศรี. (2559). ฤทธิ์การต้านเชื้อราก่อโรคพืชของนาโนซิงค์ออกไซด์. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์. 3(3): 7-14.

วรางคณา จันดา, คณิตา ตังคณานุรักษ์ และอลงกรณ์ อำนวยกาญจนสิน. (2565). ชีวภัณฑ์ทางเลือกของสารเคมีกําจัดแมลงศัตรูพืชในโรงเรือนเมล่อน. วารสารแก่นเกษตร. 5(6): 1683-1700.

วิมลศิริ สีหะวงษ์, สายัณห์ สืบผาง และสุวิจักขณ์ อรุณลักษณ์. (2565). การควบคุมการเจริญของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เชื้อสาเหตุของโรคหอมเลื้อยด้วยสารสกัดจากสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธย. 7(2): 35-42.

วิรัญญา สวนมัวมืด และแสงดาว ชัยสุวรรณ. (2563). การศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในเมล่อนด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมสารสกัดจากกระเทียม ขิง และขมิ้นชัน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ บุรีรัมย์.

ศิรัส บัวเรียน และอิทธิพล คงบรรทัด. (2562). การศึกษาการสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ผสมกับสารสกัดจากขิงที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งโรคใบจุดในใบหม่อน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ บุรีรัมย์.

สมฤทัย ตันมา และณรงค์ฤทธิ์ ติ๊บคำป้อ. (2562). ผลของสารสกัดหยาบพืชสมุนไพรและไคโตซานต่อการยับยั้งเชื้อก่อโรคแตงกวา. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 22(2): 23-34.

สุปราณี พิสมัย. (2558). ผลของสารนาโนซิงค์ออกไซด์ในการยับยั้งเชื้อราแป้งของมะม่วงพันธ์น้ำดอกไม้. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2 18-19 มิถุนายน 2558. วิทยาลัยนครราชสีมา นครราชสีมา. 217-221.

สุภัทรา จามกระโทก, ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล, ชลิดา เล็กสมบูรณ์, นวลวรรณ ฟ้ารุ่งสาง, กวิศร์ วานิชกุล และอุดม ฟ้ารุ่งสาง. (2547). ผลของสารสกัดจาก กระชาย ขมิ้นและขิง ต่อราสาเหตุโรคพืชหลังการเก็บเกี่ยว. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42. 3-6 ก.พ. 2547. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. กรุงเทพฯ. 521-528.

สุรีย์วัลย์ เมฆกมล, กาญจนา วิชิตตระกูลถาวร และเรณู สุวรรณพรสกุล. (2559). ผลของโพแทสเซียมซิลิเกตในการควบคุมโรคราแป้งและราน้ำค้างของแตงกวาญี่ปุ่นภายใต้สภาพโรงเรือนและแปลงปลูกของเกษตรกร. วารสารเกษตร. 32(1): 51-59.

สุวนันท์ โสมะมี และเสาวนีย์ สายบุตร. (2561). การสังเคราะห์ซิงค์ออกไซด์ด้วยกระบวนการโซล-เจล ที่มีต่อประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราสนิมในใบหม่อน. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ บุรีรัมย์.

สุวรรณี แทนธานี, จารวี สุขประเสริฐ, สายจิต ดาวสุโข และโสรญา รอดประเสริฐ. (2557).การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดว่านน้ำในการยับยั้งเชื้อราก่อโรคผลเน่าที่แยกได้จากผลลิ้นจี่. Bulletin of Applied Sciences. 3(3): 88-101.

Amalraj A., Haponiuk J.T., Thomas S. and Gopi S. (2021). Preparation, characterization and antimicrobial activity of polyvinyl alcohol/gum arabic/chitosan composite films incorporated with black pepper essential oil and ginger essential oil. International Journal of Biological Macromolecules. 151: 366-375.

Arciniegas-Grijalba P.A., Patin˜o-Portela M.C., Mosquera-Sa´nchez L.P., Guerrero-Vargas J.A. and Rodrı´guez-Pa´ez J.E. (2017). ZnO nanoparticles (ZnO-NPs) and their antifungal activity against coffee fungus Erythricium salmonicolor. Applied Nanoscience. 7: 225-241.

Bohan A.J., Alhtheal E.D. and Shaker Kh.S. (2017). Synthesis nano zinc oxide materials and their activity on fungus growth. Engineering & Technology Journal. 35(1): 76-84.

Fakharia S., Jamzada M. and Kabiri Fard H. (2019). Green synthesis of zinc oxide nanoparticles: a comparison. Green Chemistry Letters and Reviews. 12(1): 19-24.

Hasnidawani J.N., Azlina H.N., Norita H., Bonnia N.N., Ratim S. and Ali E.S. (2016). Synthesis of ZnO nanostructures using sol-gel method. Procedia Chemistry. 19: 211-216.

Ismail K.A., Askary A.E., Farea M.O., Awwad N.S., Ibrahium H.A., Moustapha M.E. and Menazea A.A. (2022). Perspectives on composite films of chitosan-based natural products (Ginger, Curcumin, and Cinnamon) as biomaterials for wound dressing. Arabian Journal of Chemistry. 15: 103716.

Sangchay W. and Ubolchollakhat K. (2016). Photocatalytic and antibacterial activities of ZnO powders prepared via a sol-gel method. KKU Engineering Journal. 43(1): 21-25.

Sabeeh S.H. and Jassam R.H. (2018). The effect of annealing temperature and Al dopant on characterization of ZnO thin films prepared by sol-gel method. Results in Physics. 10: 212-216.

Zhou C., Abdel-Samie M.A., Li C., Cui H., and Lin L. (2020). Active packaging based on swim bladder gelatin/galangal root oil nanofibers: Preparation, properties and antibacterial application. Food Packaging and Shelf Life. 26: 100586.

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023 — Updated on 19-02-2024

Versions