This is an outdated version published on 29-04-2023. Read the most recent version.

ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อน ด้วยซิงค์ออกไซด์ผสมสารสกัดจากขิง ข่า และไพล

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ สมฤทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • วรุตม์ คุณสุทธิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ธีระวิทย์ พลโคกก่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • อารีรัตน์ เมืองแสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ปัฐพงศ์ เทียมตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ชนิตา บุตรรัตนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • นิรันดร์ชนันท์ ชาญชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
  • ณัฐฐิญา สุดชารี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ซิงค์ออกไซด์, กระบวนการโซล-เจล, โรคราน้ำค้าง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อนของซิงค์ออกไซด์ร่วมกับขิง ข่า และไพล โดยเตรียมซิงค์ออกไซด์ด้วยวิธีการโซล-เจล และเผาแคลไซน์ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จากนั้นนำซิงค์ออกไซด์ที่ได้มาผสมกับสารสกัดจากขิง ข่า และไพล แล้วทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบ      เมล่อน จากการศึกษาโครงสร้างผลึกด้วยเครื่องเอกซ์เรย์ดิฟแฟรกโตมิเตอร์ (X-ray Diffractometer: XRD) พบว่า มีโครงสร้างผลึกแบบเฮกซะโกนอล โดยมีขนาดผลึก 58.07 นาโนเมตร ส่วนการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่มีสมรรถนะสูงชนิดฟิลด์อีมิสชัน (Field Emission Scanning Electron Microscope: FE-SEM) พบว่าซิงค์ออกไซด์มีลักษณะของอนุภาคเป็นแท่งกลมซ้อนทับกัน และเมื่อวิเคราะห์หมู่ฟังก์ชั่นด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปกโตรสโคปี (Fourier Transform Infrared Spectroscopy: FT-IR) ของสารสกัดขิง ข่า และไพล พบว่ามีพันธะ O-H พันธะ C-H พันธะ C=O พันธะ C=C-C=C และพันธะ C-O จากการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราก่อโรคราน้ำค้างในใบเมล่อนของซิงค์ออกไซด์และสารสกัดขิง ข่า และไพล กับอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีความเข้มข้น 4,000 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่อัตราส่วน 1:1 โดยน้ำหนัก พบว่า ซิงค์ออกไซด์ที่ผสมสารสกัดจากข่า มีประสิทธิภาพในการยับยั้งที่สูงที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 68.40 รองลงมา คือ ไพล และขิง โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 67.29 และ 46.47 ตามลำดับ

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023

Versions