ผลของอัตราภาระทางชลศาสตร์และอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ ต่อประสิทธิภาพการกรองน้ำบาดาลจากชุดเครื่องกรองน้ำบาดาล
คำสำคัญ:
สมบัติทางกายภาพ, น้ำบาดาล , เครื่องกรองน้ำบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดเครื่องกรองน้ำบาดาลตัวถังพีวีซี (Filter Series Reactor of Groundwater; FSRG) จากท่อพีวีซี (PVC) มีทิศทางการไหลลงจากบนลงล่าง จำนวน 3 ถังต่อเรียงกัน ซึ่งระบบประกอบด้วยถังที่ 1 ถังปฏิกรณ์แมงกานีส ถังที่ 2 ถังปฏิกรณ์เรซิ่น และถังที่ 3 ถังปฏิกรณ์ถ่านกัมมันต์ชนิดเม็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter; D) 0.10 เมตร ความลึกชั้นกรองที่ 1 เมตรมีอัตราส่วนความกว้าง:ความยาว (<1:4) แต่ละถังมีพื้นที่ (Area; A) 86.55x10-4 ตารางเมตร พบว่าที่อัตราไหลเข้า (Q-in) 0.20 ลูกบาศก์เมตร/วันที่ระยะเวลากักพักชลศาสตร์ (Hydraulic Retention Time; HRT) เท่ากับ 0.04 วัน แต่เกิดการลดของอัตราภาระทางชลศาสตร์ (Hydraulic Loading Rate; HLR) เท่ากับ 0.17x10-2 เมตร/วัน และอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ (Organic Loading Rate; OLR) เท่ากับ 3.46x10-2 กิโลกรัม-เหล็ก/ลูกบาศก์เมตร/วัน และ 4.57 กิโลกรัม-ความกระด้าง/ลูกบาศก์เมตร/วันของระบบ FSRG มีประสิทธิภาพสูงสุดในกำจัดค่าเหล็ก (Fe) และความกระด้าง (CaCO3) ถึง 73.33% และ 80.00% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามระบบ FSRG ควรติดตั้งระบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) ร่วมเพื่อความสะอาดของน้ำมากขึ้น
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2551). กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรการในทางวิชาการ สำหรับการป้องกันด้านสาธารณสุขและการป้องกันในเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 85 ง.กรุงเทพฯ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. (2562). คู่มือมาตรฐานน้ำดื่มประเทศไทย. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.
รัฐพล สุขสมบูรณ์, สุธาวัลย์ ตั้งจิตเจริญกิจ และชัยยันต์ จันทร์ศิริ. (2564). นวัตกรรมการร่วมเครื่องปฏิกรณ์กวนชีวภาพแบบฟลูอิไดซ์เบดด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. 13(3): 623-636.
โรสลีนา จาราแว, ซาลีฮา นามายัม และรุสนี อีแต. (2560). การศึกษาคุณภาพทางกายภาพของน้ำบาดาลที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ แบบง่าย. วารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 14(1): 1-12.
วุฒิกร สายแก้ว, รัฐพล สุขสมบูรณ์ และละอองดาว ภูสำรอง. (2566). แบบจำลองทางคณิตศาสตร์พลวัตเครื่องปฏิกรณ์ถ่านกัมมันต์เม็ดคงที่การไหลหมุนเวียนสำหรับบำบัดน้ำเสียชุมชน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 33(3): 1-11.
วิชัย ศรีบุญลือ. (2552). อุทกวิทยา. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
APHA, AWWA and WPCF. (1999). Standard methods for the examination of water and wastewater. 20th edition, American Public Health Association, Washington DC.
Burger M., Krentz C., Merce R. and Gagon G. (2008). Manganese removal and occurrence of manganese oxidizing bacteria in full-scale biofilters. Water Supply Research Technology. 57: 351-359.
Simons, B.B. and Wellnitz, T.R. (2003). สำรวจโลกวิทยาศาสตร์: น้ำของโลก. แปลจาก Prentice Hall Science Explorer: Earths Waters. โดย พงชัย หาญยุทธนากร และ เจษฎา เด่นดวงบริพัทธ์. เพียร์ สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า: กรุงเทพ.
Suksomboon R., Junsiri C., Tangjitjaroenkit S., Moselhy M. and Padungthon P. (2019). Mathematical models of a fluidized bed bioreactor using granular activated carbon (FBBR-GAC) for wastewater treatment. Engineering and Applied Science Research. 46(3): 183-191.
Xing D., Guangyang L., Fangshu Q., Kai L., Senlin S., Guibai L. and Heng L. (2017). Removal of iron, manganese and ammonia from groundwater using a PAC-MBR system: The anti-pollution ability, microbial population and membrane fouling. Desalination. 403: 97-106.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 20-02-2024 (2)
- 29-12-2023 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื่อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการดีพิมพ์ในวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารทดสอบระบบ ThaiJo2 ก่อนเท่านั้น