This is an outdated version published on 29-12-2023. Read the most recent version.

ผลของอัตราภาระทางชลศาสตร์และอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ ต่อประสิทธิภาพการกรองน้ำบาดาลจากชุดเครื่องกรองน้ำบาดาล

ผู้แต่ง

  • รัฐพล สุขสมบูรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
  • พุทธพรรณี บุญมาก คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

สมบัติทางกายภาพ, น้ำบาดาล , เครื่องกรองน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดเครื่องกรองน้ำบาดาลตัวถังพีวีซี (Filter Series Reactor of Groundwater; FSRG) จากท่อพีวีซี (PVC) มีทิศทางการไหลลงจากบนลงล่าง จำนวน 3 ถังต่อเรียงกัน ซึ่งระบบประกอบด้วยถังที่ 1 ถังปฏิกรณ์แมงกานีส ถังที่ 2 ถังปฏิกรณ์เรซิ่น และถังที่ 3 ถังปฏิกรณ์ถ่านกัมมันต์ชนิดเม็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (Diameter; D) 0.10 เมตร ความลึกชั้นกรองที่ 1 เมตรมีอัตราส่วนความกว้าง:ความยาว (<1:4) แต่ละถังมีพื้นที่ (Area; A) 86.55x10-4 ตารางเมตร พบว่าที่อัตราไหลเข้า (Q-in) 0.20 ลูกบาศก์เมตร/วันที่ระยะเวลากักพักชลศาสตร์ (Hydraulic Retention Time; HRT) เท่ากับ 0.04 วัน แต่เกิดการลดของอัตราภาระทางชลศาสตร์ (Hydraulic Loading Rate; HLR) เท่ากับ 0.17x10-2 เมตร/วัน และอัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ (Organic Loading Rate; OLR) เท่ากับ 3.46x10-2 กิโลกรัม-เหล็ก/ลูกบาศก์เมตร/วัน และ 4.57 กิโลกรัม-ความกระด้าง/ลูกบาศก์เมตร/วันของระบบ FSRG มีประสิทธิภาพสูงสุดในกำจัดค่าเหล็ก (Fe) และความกระด้าง (CaCO3) ถึง 73.33% และ 80.00% ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ตามระบบ FSRG ควรติดตั้งระบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) ร่วมเพื่อความสะอาดของน้ำมากขึ้น

Author Biography

รัฐพล สุขสมบูรณ์, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023

Versions