This is an outdated version published on 29-12-2023. Read the most recent version.

การออกแบบและพัฒนาผลผลิตการปลูกข้าวด้วยระบบอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง

ผู้แต่ง

  • ธนพร พยอมใหม่ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา
  • ไมตรี ธรรมมา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

สมาร์ทฟาร์ม, อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง, เซ็นเซอร์.

บทคัดย่อ

การศึกษาการออกแบบระบบสมาร์ทฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งสำหรับการปลูกข้าวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับการปลูกข้าว แปลงสาธิตที่ศูนย์วิจัยข้าว อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งใช้แนวความคิดของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งโดยมีเซ็นเซอร์วัดค่าข้อมูลของการปลูกข้าว โดยกำหนดไว้ 3 ค่า ตามสภาพแวดล้อมและคุณภาพของดิน คือ 1) ความชื้น (Humidity), 2) ค่าทีดีเอส (TDS) และ 3) ค่าพีเอช (pH) ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบแผนผังการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT (Node MCU) กับ Arduino board และระบบเซ็นเซอร์พร้อมกับการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ IoT สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์โมบายโฟนแอปพลิเคชันต่าง ๆ โดยสามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และสามารถแสดงข้อมูลตามค่ามาตรฐาน ดังนี้ 1) ค่า Humidity จะอยู่ในช่วง 70-100, 2) ค่า TDS น้อยกว่า 3 มิลลิซีเมนส์ต่อเซนติเมตร และ 3) ค่า pH ที่เหมาะสมอยู่ที่ 7-9 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ สามารถมีการจัดการน้ำที่ดีและลดต้นทุนทางด้านบุคลากร ลดเวลา สามารถทำงานและพัฒนาร่วมกับแอปพลิเคชันได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ข้าวน้ำหนักดีและเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นต่อเดือน 12.7%

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023

Versions