ความสามารถในการกระจายและเพิ่มออกซิเจนในน้ำของกังหันน้ำกรณีศึกษาน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ฐิตินันท์ ป้องนาม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • คุณาธิป รวิวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
  • จักรพันธ์ สินโคกสูง แขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 1 สำนักงานทางหลวงที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, ค่าออกซิเจนที่ละลาย , กังหันน้ำเติมอากาศ , น้ำทิ้ง, การพัฒนาแหล่งน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาความสามารถในการกระจายและเพิ่มออกซิเจนในน้ำของกังหันน้ำกรณีศึกษาน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วในโรงพยาบาล เป็นการทดสอบหาความสามารถในการเพิ่มและกระจายค่าความสามารถในการเพิ่มออกซิเจน (DO) ของบ่อทดสอบในโรงพยาบาล โดยทำการทดสอบหาปริมาณค่า DO ในแนวราบห่างออกจากตัวเครื่องทั้งหมด 9 จุด และแนวดิ่งในความลึกทุก ๆ 10 เซนติเมตร จนกระทั่งไม่พบค่า DO ที่ 7, 15 และ 30 วัน เพื่อหาความสามารถในการเพิ่มและกระจาย
ค่า DO ของกังหันเติมอากาศโดยใช้กังหันเติมอากาศแบบอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ ในจุดต่าง ๆ จากการทดสอบพบว่า
ค่า DO ในน้ำของพื้นที่ทดสอบก่อนที่จะทำการติดตั้งกังหันน้ำนั้นที่ความลึก 0, 30, 40, 50 และ 60 เซนติเมตร มีค่า DO เท่ากับ 6.99, 5.09, 3.57, 0.84 และ 0.09 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ เมื่อทำการติดตั้งกังหันน้ำ พบว่า DO ในจุดที่ 4
มีค่าสูงสุดคือ 9.10 มิลลิกรัม/ลิตร โดยที่ 7, 15 และ 30 วัน จุดที่ 4 สามารถเพิ่มค่า DO ได้เท่ากับ 49%, 65% และ 83% ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบในระดับความลึกเดียวกันประสิทธิภาพในการเพิ่มค่า DO ต่ำสุด คือจุดที่ 3 และ 9 โดยสามารถเพิ่มค่า DO ได้เฉลี่ยเท่ากับ 30%, 37% และ 46% ที่ 7, 15 และ 30 วัน ตามลำดับ เนื่องจากการกระจายของน้ำลดลง ดังนั้นหากมีการทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกังหันเติมอากาศอาจจะทำให้ลดข้อจำกัดของการกระจายของน้ำได้

References

กัลยา ธนาสินธ์, อมรรัตน์ คำบุญ, ณัฐดนัย สิงห์คลีวรรณ และสายัณ พุทธลา. (2565). กังหันน้ำเติมออกซิเจนพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับบ่อน้ำ. วารสารวิชาการเทพสตรี I-TECH. 7(2): 95-105.

จิระพล พุ่มสกุล. (2557). ปัญหาน้ำเสียจากบ้านพักอาศัยและสถานประกอบการในเขตเทศบาล ตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยยงค์ เสริมผล, จิระเดช สังคะโห และพลวัฒน์ ศรีโยหะ. (2563). การพัฒนากังหันน้ำเติมอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ควบคุมผ่านสัญญาณไร้สาย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 14(2): 173-189.

ทินพันธุ์ เนตรแพ. (2558) ชลธีวิทยา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล, กิตติ อภิชัยไพบูลย์ และกิตติคุณ ชาติรักษา. (2559). เปรียบเทียบระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตามดวงอาทิตย์แกนเดียว. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 9 29 พฤศจิกายน–1 ธันวาคม 2559. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ดอยสะเก็ด). เชียงใหม่.11-18.

นรภัทร น้อยหลุบเลา และชวิศร ปูคะภาค. (2559). การพัฒนากังหันเติมอากาศโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 35(2): 141-149.

มณฑล ฟักเอม, เกียรติชัย บรรลุผลสกุล, กิตติศักดิ์ คงสีไพ และอภิรักษ์ ทัดสอน. (2559). ระบบให้น้ำพืชอัตโนมัติด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ กรณีศึกษาแปลงเพาะพันธุ์ข้าว. วารสารวิจัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม. 1(1): 55-66.

สันทัด ศิริอนันตไพบูลย์. (2557). ระบบบำบัดน้ำเสีย. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด: กรุงเทพฯ.

สันทัด ศิริอนันตไพบูลย์. (2563). น้ำเสียชุมชน. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 4(1): 1-10.

อุทัย ผ่องรัศมี, เสนีย์ ศิริไชย, จักรกฤษณ์ ขันทอง, ภาสกร ผ่องรัศมี และช่วงชัย ชุปวา. (2562). การออกแบบและสร้างอุปกรณ์เติมอากาศในน้ำชนิดใบพัดแบบหนามทุเรียนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 17(2): 76-87.

อัศน์อุไร เตชะสวัสดิ์. (2554). บทบาทความรับผิดชอบของปัจเจกชนต่อการบริโภคอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 31(3): 150-161.

Jan S., Petr K. and Adam B. (2014). Effect of temperature on the measurement of dissolved oxygen in the package. Kvasny Prumysl. 60(1): 2-7.

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023 — Updated on 20-02-2024

Versions