This is an outdated version published on 29-12-2023. Read the most recent version.

ความสามารถในการกระจายและเพิ่มออกซิเจนในน้ำของกังหันน้ำกรณีศึกษาน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วในโรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ฐิตินันท์ ป้องนาม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
  • คุณาธิป รวิวรรณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
  • จักรพันธ์ สินโคกสูง แขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 1 สำนักงานทางหลวงที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พลังงานแสงอาทิตย์, ค่าออกซิเจนที่ละลาย , กังหันน้ำเติมอากาศ , น้ำทิ้ง, การพัฒนาแหล่งน้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาความสามารถในการกระจายและเพิ่มออกซิเจนในน้ำของกังหันน้ำกรณีศึกษาน้ำทิ้งที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วในโรงพยาบาล เป็นการทดสอบหาความสามารถในการเพิ่มและกระจายค่าความสามารถในการเพิ่มออกซิเจน (DO) ของบ่อทดสอบในโรงพยาบาล โดยทำการทดสอบหาปริมาณค่า DO ในแนวราบห่างออกจากตัวเครื่องทั้งหมด 9 จุด และแนวดิ่งในความลึกทุก ๆ 10 เซนติเมตร จนกระทั่งไม่พบค่า DO ที่ 7, 15 และ 30 วัน เพื่อหาความสามารถในการเพิ่มและกระจาย
ค่า DO ของกังหันเติมอากาศโดยใช้กังหันเติมอากาศแบบอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ ในจุดต่าง ๆ จากการทดสอบพบว่า
ค่า DO ในน้ำของพื้นที่ทดสอบก่อนที่จะทำการติดตั้งกังหันน้ำนั้นที่ความลึก 0, 30, 40, 50 และ 60 เซนติเมตร มีค่า DO เท่ากับ 6.99, 5.09, 3.57, 0.84 และ 0.09 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ เมื่อทำการติดตั้งกังหันน้ำ พบว่า DO ในจุดที่ 4
มีค่าสูงสุดคือ 9.10 มิลลิกรัม/ลิตร โดยที่ 7, 15 และ 30 วัน จุดที่ 4 สามารถเพิ่มค่า DO ได้เท่ากับ 49%, 65% และ 83% ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบในระดับความลึกเดียวกันประสิทธิภาพในการเพิ่มค่า DO ต่ำสุด คือจุดที่ 3 และ 9 โดยสามารถเพิ่มค่า DO ได้เฉลี่ยเท่ากับ 30%, 37% และ 46% ที่ 7, 15 และ 30 วัน ตามลำดับ เนื่องจากการกระจายของน้ำลดลง ดังนั้นหากมีการทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกังหันเติมอากาศอาจจะทำให้ลดข้อจำกัดของการกระจายของน้ำได้

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023

Versions