ผลของการเสริมผงผักต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าว

ผู้แต่ง

  • ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จังหวัดตาก
  • พัชรี คำมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จังหวัดตาก
  • ไพรัตน์ ขวัญพนาลี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จังหวัดตาก
  • สุภัตรา สิริสถิรสุนทร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก จังหวัดตาก
  • นิตยา ภูงาม คณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วข. สุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

ข้าวเกรียบว่าว , ผงผัก , องค์ประกอบทางเคมี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของผักที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าว ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดฮ่องเต้ และผักกาดกวางตุ้ง ผลการศึกษา พบว่า ข้าวเกรียบว่าวเสริมผักกาดกวางตุ้งได้รับคะแนนทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี เนื้อสัมผัส กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวม เท่ากับ 7.30, 7.06, 7.60 และ 7.63 ตามลำดับการวิเคราะห์ค่าสี (L*, a* และ b*) ของข้าวเกรียบว่าวที่เสริมผงผักทั้ง 3 ชนิด พบว่า การเสริมผงผักส่งผลให้ข้าวเกรียบว่าวมีค่า L* อยู่ในช่วง 40.98-42.26 ค่า a* อยู่ในช่วง (-11.43)–(-13.40) และค่า b* มีค่าอยู่ระหว่าง 34.22-35.08 ข้าวเกรียบว่าวเสริมผงผักมีปริมาณน้ำอิสระ (aw) อยู่ในช่วง 0.33-0.34 และมีความชื้นอยู่ในช่วงร้อยละ 8.02-8.15 จาการศึกษาอัตราส่วนของผงผักในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวที่แตกต่างกัน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0, 4, 6 และ 8 เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าว พบว่า การเติมผงผักกาดกวางตุ้งที่ปริมาณสูงขึ้น ส่งผลให้ค่าสี L*, a*, b* และความชื้น มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p≤0.05) นอกจากนี้การเพิ่มผงผักในปริมาณมากขึ้นจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของข้าวเกรียบว่าวเพิ่มขึ้น เมื่อทดสอบค่าความแข็งของข้าวเกรียบว่าว พบว่า ข้าวเกรียบว่าวที่เสริมผงผักกาดกวางตุ้งที่ ร้อยละ 6 มีค่าความแข็งสูงที่สุด เท่ากับ 1.71 นิวตัน และคะแนนทางประสาทสัมผัสด้านสี กลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมมากที่สุด โดยมีคะแนนเท่ากับ 7.30, 7.13 และ 7.06 ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของข้าวเกรียบว่าวเสริมผงผักผัก ร้อยละ 6 พบว่า ปริมาณเถ้า โปรตีน และเยื่อใย เท่ากับ ร้อยละ 0.61, 7.18 และ 0.51 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่าข้าวเกรียบว่าวสูตรพื้นฐาน (p≤0.05)

References

กฤติกา โพธิ์เย็น และสุนทรี สุวรรณสิชณน์. (2560). ผลของการลวกและการใช้กรดต่อคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของแก่นตะวันผง. รายงานการวิจัย. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

จริยา สุขจันทรา และนุชเนตร ตาเย๊ะ. (2560). การพัฒนาข้าวเกรียบปลาจากซูริมิเสริมฟักทอง. รายงานการวิจัย. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ยะลา.

จันทร์เพ็ญ ไชยนุ้ย. (2550). ผลของคุณสมบัติทางเคมีเชิงฟิสิกส์ของแป้งผสม (แป้งมันสำปะหลังและแป้งสาคู) ต่อคุณภาพของข้าวเกรียบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร และโภชนาการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นิธิยา รัตนาปนนท์. (2557). เคมีอาหาร. โอเดียนสโตร์: กรุงเทพฯ.

ปพนพัชร์ ภัทรฐิติวัสส์ และพรพาชื่น ชูเชิด. (2564). การผลิตข้าวเหนียวอบพองกรอบเสริมปลาทูน่าอบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 20(2): 173–182.

วิจิตรา เหลียวตระกูล และวชิรญา เหลียวตระกูล. (2563). ผลการเตรียมขั้นต้นและอุณหภูมิการทำแห้งต่อคุณภาพทางกายภาพ เคมีและปริมาณจุลินทรีย์ของผักพื้นบ้านอบแห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ววท.). 29(1): 135-145.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง องค์การมหาชน. (2557). ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง หวานอร่อย วิตามินเยอะ สรรพคุณเพียบ. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566. https://food.trueid.net/detail/DbKqQW1ZnJ3r.

เสาวนีย์ ลาดน้อย และอบเชย วงศ์ทอง. (2560). การพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพข้าวเกรียบงาจากปลายข้าวสินเหล็ก. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(2): 19-27.

สุพิชา วัฒนปรีชานนท์. (2558). การทำข้าวเกรียบว่าวให้พองโดยใช้เครื่องไมโครเวฟร่วมกับอินฟราเรดแบบต่อเนื่อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุรีรัตน์ แซ่ลิ้ม. (2546). การวิเคราะห์เปรียบเทียบปริมาณคลอโรฟิลล์ในผักบุ้งจีนที่รดด้วยสารต่างชนิด โดยวิธี ยูวี-วิสิเบิลสเปกโทรโฟโตเมทรี. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นครปฐม.

สุธรรมา สุทธิโสภณ และธงชัย ศรีเมือง. (2564). การผลิตข้าวเกรียบว่าวกล้วยหอมทอง. รายงานการวิจัย. สาขาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม กรุงเทพฯ.

สำนักโภชนาการ. (2561). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนการของอาหารไทย. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2566. https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/thai-food-composition-table.

อรอนงค์ นัยวิกุล. (2550). ข้าว. รายงานการวิจัย. ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

AOAC (2000). Official Methods of Analysis. The Association of Official Analytical Chemists, Gaithersburg, MD, USA.

Neiva C.R.P., Machado T.M., Tomita R.Y., Furlan E.F., Lemos Neto M.J. and Bastos D.H.M. (2011). Fish crackers development from minced fish and starch: an innovative approach to a traditional product. Cienc Tecnol Aliment Campinas. 31(4): 973-979.

Nurul H., Ang L.L., Chung X.Y. and Herpandi. (2010). Chemical composition, colour and linearexpansion properties of malaysian commercial fish cracker (keropok). Asian Journal of Food and Agro-Industry. 3(05): 473-482.

เผยแพร่แล้ว

29-12-2023 — Updated on 20-02-2024

Versions