อิทธิพลของศาสนาต่อปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสุข: กรณีศึกษาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความสุข, ศาสนา, ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 2) ศึกษาผลกระทบของปัจจัยด้านศาสนา ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านงาน และปัจจัยด้านสังคมต่อความสุข 3) ศึกษาบทบาทของความเชื่อในศาสนาในการเป็นตัวแปรกำกับ (Moderator) ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยใช้วิธีการสุ่มแบบโควต้า จำนวน 382 คน จากตารางสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ที่ระดับความเชื่อมั่น .05 โดยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง มากกว่า 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ .943 วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าร้อยละ เพื่ออธิบายระดับปัจจัยต่าง ๆ และใช้สถิติเชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์การถดถอยแบบลำดับชั้นเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของปัจจัยความสุข และใช้ทดสอบบทบาทตัวแปรกำกับ ของความเชื่อในศาสนาระหว่างปัจจัยด้านงานกับความสุข
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีค่าเฉลี่ยระดับความสุข 7.149 (จากมาตรวัด 0-10) 2) ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสุขภาพ ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยความเชื่อในศาสนา (p < .01) และปัจจัยด้านสังคมส่งผลกระทบต่อความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ปัจจัยด้านงานเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสุขมากที่สุด โดยปัจจัยทั้งห้าสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 34.10 และ 3) ความเชื่อในศาสนาแสดงบทบาทการเป็นตัวแปรกำกับ ทางลบระหว่างปัจจัยด้านงานกับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี นั่นคือลดผลกระทบระหว่างปัจจัยด้านงานกับความสุขของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว