การจัดการเรียนรู้โดยสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสติ และสมาธิที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
จิตตปัญญาศึกษา, สติ, สมาธิบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสังเคราะห์แนวคิดการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 2) พัฒนาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของผู้วิจัยโดย 1) เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา จำนวน 3 ครั้ง 2) ศึกษาเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 3) สังเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรม การจัดการเรียนรู้โดยสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา ได้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 3 ขั้นตอน จากนั้นนำไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตลอดช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 2) แบบบันทึกใคร่ครวญการเรียนรู้ 3) แบบสะท้อนคิด 4) การสังเกต และ 5) แบบสัมภาษณ์/ สนทนากลุ่ม
ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยการสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นสะท้อนคิดและขั้นทบทวน 2) ผลการศึกษาการพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขั้นพื้นฐานของผู้เรียน พบว่า 2.1) เชิงปริมาณ นิสิตที่เรียนโดยสอดแทรกกระบวนการจิตตปัญญาศึกษามีสติ สมาธิหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2) เชิงคุณภาพ พบว่า ผู้เรียนมีสติ และสมาธิเพิ่มขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว