ประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามของแบบทดสอบพหุมิติให้คะแนนหลายค่าด้วยวิธีโพลี-ซิปเทสท์ วิธีทดสอบวอลด์ และวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ

ผู้แต่ง

  • ณัฐพร ภักดี
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์

คำสำคัญ:

การทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถาม, วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ, วิธีทดสอบวอลด์

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามของแบบทดสอบพหุมิติให้คะแนนหลายค่าด้วยวิธีโพลี-ซิปเทสท์ วิธีทดสอบวอลด์ และวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลจำลอง โดยจำลองภายใต้โมเดลเกรดเรสพอนสองมิติ ซึ่งแต่ละข้อจะมีรายการตอบ 5 รายการ ให้คะแนนแต่ละรายการเป็น 1, 2, 3, 4 หรือ 5 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวจำลองภายใต้ปัจจัยที่แปรเปลี่ยน 4 ปัจจัย คือ ความยาวของแบบทดสอบต่างกัน 2 ขนาด ขนาดของการทำหน้าที่ต่างกัน 3 ระดับ สัดส่วนข้อคำถามที่ทำหน้าที่ต่างกัน 2 ขนาด และขนาดของกลุ่มตัวอย่างต่างกัน 5 รูปแบบ รวมเงื่อนไขที่แต่ละวิธีต้องทำการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามทั้งหมด 60 เงื่อนไข (2´3´2´5) ในแต่ละเงื่อนไขกระทำซ้ำ 100 รอบ

        ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมสำหรับความยาวของแบบทดสอบจำนวน 20 ข้อ วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามดีกว่าวิธีทดสอบวอลด์ แต่เมื่อความยาวของแบบทดสอบมากขึ้นวิธีทดสอบวอลด์ มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามดีกว่าวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกลุ่มพหุ โดยทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อคำถามดีกว่าวิธีโพลี-ซิปเทสท์ ในทุกเงื่อนไข

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-12-2017