การพัฒนาทักษะการสอนภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษา
คำสำคัญ:
ทักษะการสอนภาษาไทย, การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน, นักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสอนภาษาไทยหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานกับเกณฑ์การประเมิน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษา ชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาการประถมศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยระดับประถมศึกษาในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของวิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จำนวน 38 คน ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้ในเรื่องทักษะการสอนภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานจำนวน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.81 และ 2) แบบประเมินทักษะการสอนภาษาไทยโดยใช้การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 1 ฉบับมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.67-1.00 ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลเวลา 16 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติค่า t - test
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง นักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้เกี่ยวกับทักษะการสอนภาษาไทยสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 2) หลังการทดลองนักศึกษาครูมีผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการสอนภาษาไทยอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์การประเมิน คือ ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว