สุนทรียภาพในระบำโบราณคดี

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ สันติอัชวรรณ ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ระบำ, ระบำโบราณคดี, สุนทรียภาพของระบำ

บทคัดย่อ

        ระบำโบราณคดี เป็นผลงานชิ้นเอกประเภทระบำที่กรมศิลปากรได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยมีความมุ่งหมายในการบอกเล่าเรื่องราวโบราณคดีจำนวน 5 ยุคสมัย ได้แก่ ทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เชียงแสนและสุโขทัยผ่านรูปแบบการแสดงระบำ โดยอ้างอิงหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์
        ระบำโบราณคดีเป็นระบำที่มีสุนทรียภาพในการแสดงอย่างยิ่ง ด้วยความงดงามลงตัว ที่ปรากฏแก่สายตาและโสตประสาทของผู้ชม สุนทรียภาพในการแสดงของระบำโบราณคดีสามารถวิเคราะห์ได้จาก 5 ด้าน ได้แก่ 1) กระบวนท่ารำที่มีความงดงามและได้ต้นแบบจากภาพจำหลักรูปปั้นทางโบราณคดีตามยุคสมัยต่าง ๆ 2) รูปแบบการแปรแถวที่มีความสวยงามหลากหลาย 3) ความงามของผู้แสดงที่ผ่านการคัดเลือกให้ใกล้เคียงกับเชื้อชาติและบุคคล ในยุคโบราณ 4) บทเพลงดนตรีที่มีท่วงทำนองอันไพเราะรวมทั้งสร้างบรรยากาศให้รำลึกถึง ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ และ 5) เครื่องแต่งกายที่จำลองมาจากเครื่องแต่งกายสตรีที่พบตาม ศิลปโบราณวัตถุยุคต่าง ๆ ปัจจัยทั้งห้าประการล้วนแล้วแต่ส่งเสริมให้เกิดความงดงามให้แก่ระบำโบราณคดี เป็นชุดระบำสำคัญที่บรรจุลงในหลักสูตรการศึกษา และเป็นต้นแบบงานสร้างสรรค์ ในรูปแบบระบำเชิงประวัติศาสตร์ทางนาฏศิลป์ไทยอีกด้วย

References

กรมศิลปากร. (2513). สมุดภาพแสดงเครื่องแต่งกายตามสมัยประวัติศาสตร์และโบราณคดี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

กำจร สุนพงษ์ศรี. (2555). สุนทรียศาสตร์: หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2510). ระบำชุดโบราณคดี. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

วิชชุตา วุธาทิตย์. (2539). ระบำโบราณคดีชุดทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี และเชียงแสน ผลงานประดิษฐ์ท่ารำโดย อาจารย์เฉลย สุขะวณิช. (รายงานวิจัย) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิลป์ พีระศรี. (2553). ศิลปสงเคราะห์ พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี.

สถาบันนาฏดุริยางคศิลป์. (2542). วิพิธทัศนา พร้อมคำอธิบายชุดการแสดงและภาพประกอบ. กรุงเทพฯ: บริษัท เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018