โครงสร้างองค์การแบบเมตริกซ์เพื่อการเติบโตในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ธนชัย ยมจินดา สาขาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ลดาวัลย์ ยมจินดา ภาควิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

โครงสร้างองค์การ, การจัดองค์การ, โครงสร้างเมตริกซ์

บทคัดย่อ

        ในกระบวนการจัดการตามกรอบแนวคิดสมัยใหม่ จะให้ความสำคัญกับการจัดการตามกรอบของการวางแผน (Planning : P) การจัดองค์การ (Organizing : O) การสร้างภาวการณ์นำ (Leading : L) และการควบคุม (Controlling : C) ที่เรียกสั้น ๆ ว่า POLC เพื่อมุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์องค์กร ในการทำหน้าที่ของนักบริหารโดยส่วนใหญ่ การจัดองค์การ (O) เป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการตอบโจทย์ความต้องการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การได้เป็นอย่างมาก รูปแบบการจัดองค์การหรือโครงสร้างองค์การ มี 6 รูปแบบด้วยกัน คือ 1) โครงสร้างสายงานหลัก 2) โครงสร้างสายงานหลักและสายงานที่ปรึกษา 3) โครงสร้างสายงานหน้าที่ 4) โครงสร้างหน่วยธุรกิจอิสระ 5) โครงสร้างเมตริกซ์ และ 6) โครงสร้างหน่วยธุรกิจกลยุทธ์ การจัดองค์การ แบบโครงสร้างเมตริกซ์เน้นการประสานความพยายามของหน่วยงานตามหน้าที่กับหน่วยงาน ในรูปแบบโครงการที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดความสามารถในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในระยะสั้น ขณะเดียวกันก็เกิดการพัฒนาความชำนาญเฉพาะด้านของหน่วยงานตามหน้าที่ในระยะยาว โครงสร้างเมตริกซ์สามารถจัดได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบโครงสร้างที่เป็นโครงการอย่างเดียวจนถึงโครงสร้างที่มีสายการบังคับบัญชาไขว้ทับกันทั้งตามแนวดิ่งและแนวนอน

References

ธนชัย ยมจินดา. (2545). หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์และการควบคุมในประมวลสาระชุดวิชาการการวางแผนกลยุทธ์และการควบคุม. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

________. (2558). หน่วยที่ 3 การจัดองค์การและภาวการนำของธุรกิจและสหกรณ์ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดและดำเนินงานการสหกรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

Argyris, C. (1964). Integrating the Individual and the Organization. New York: Wiley.

Bartlett, C. and Ghoshal, S. (1990). Matrix management: Not a structure, a frame of mind. Harvard Business Review, 68(4), 138-145

Bennis, W. G. (1966). Organizational development and the fate of bureaucracy. Industrial Management Review, 7, 41-55

Blake, R.R. and Mouton, I.S. (1964). The Managerial Grid, Houston: Gulf.

Boles, A. (1984). An Evaluation Study of the Matrix Structure in Small Public Service Organization. Retrieved from http://libraly3.Sage.edu/archive/thesis/MGT/MGT-b764-bol-ane-pdf.

Burns,T. and Stalker, G.M. (1961) The Management of Innovation. Chicago: Quadrangle.

Daft, R.L. (1997). Management. FL: The Dryden Press.

Flippo, E. B. (1996). Management: A Behavioral Approach. Boston: Allyn and Bacon.

Gobeli, D. H. and Larsen, E. W. (1987). Relative effectiveness of different project structure. Project Management Journal, 18(2), 81-85
Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw Hill.

McLarney, W. J. (1964). Management Training. Illinois: Richard B. Irwin.

Minzberg, H. (1988). The Structuring of Organization p 300-303 in James, B,Q. et.al. The Strategy Process: Concepts, Contexts and Cases: Englewood Cliffs. NJ: Prentice Hall International.

Penman, B. and Wang, R. L. (1999). Ford 2000. Management of International Operation. Retrieved from www.CSUS.edu/indiv/w/wang/mba270/

Shepard, H. A. (1972). Changing interpersonal and intergroup relationships in organization. In J. March (Ed.), Handbook of Organization, New York: Rand McNally.

Weirhrich, H. and Koontz, H. (1997). Management: A Global Perspective. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018