การบริหารลูกค้าสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสังคมออนไลน์ในธุรกิจอาหาร

ผู้แต่ง

  • นฤศร มังกรศิลา สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นุจรี บุรีรัตน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การบริหารลูกค้าสัมพันธ์, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, ธุรกิจอาหาร

บทคัดย่อ

        ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจอาหาร ถือได้ว่ามีแนวโน้ม ในการขยายตัวไปสู่กลุ่มผู้ใช้บริการในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถเลือกซื้ออาหาร หรือจองโต๊ะล่วงหน้าได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) สิ่งที่เป็นสื่อกลางสำคัญในการขับเคลื่อนให้ธุรกิจอาหารมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดบริการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ที่ทันสมัยอย่างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และช่องทางการจัดจำหน่ายอื่น ๆ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจร้านอาหารในพื้นที่ต่าง ๆ ให้สามารถค้นพบปัญหาและแก้ปัญหาได้ตรงตามความต้องการ ทำให้เกิดการรับรู้ถึงข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากการค้นหาข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้ใช้บริการต้องการเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหารที่ตอบสนองผู้ใช้บริการที่ไม่มีเวลาออกไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหาร หรือต้องการจองโต๊ะไว้ล่วงหน้าสำหรับร้านอาหารที่ผู้ใช้บริการเดินทางไปได้สะดวก รวมทั้งส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือวิเคราะห์ข้อมูล สารสนเทศและองค์ความรู้จำนวนมากผ่านการทำธุรกรรมในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้กับผู้ใช้บริการได้ตรงตามประสบการณ์และความต้องการที่แท้จริง ผู้ใช้บริการพร้อมที่จะเป็นผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) แก่ธุรกิจอาหารผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลดีต่อผู้ให้บริการในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารในการ ลดต้นทุนการจัดเตรียมวัตถุดิบ หรือต้นทุนอื่น ๆ ได้ตามแนวคิดแบบลีน (Lean Thinking) โดยบทความนี้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ให้บริการในกลุ่มธุรกิจร้านอาหารสามารถใช้ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ต่าง ๆ จากระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการบริหารความสัมพันธ์ กับผู้ใช้บริการที่เป็นลูกค้าของธุรกิจร้านอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรธวัฒน์ สกลคฤหเดช. (2559). ความได้เปรียบทางการแข่งขันเชิงพลวัตกับความสำเร็จของธุรกิจอาหารแปรรูปของไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, 1(1), 58-65.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การบริการลูกค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดียแอนด์พับลิชชิ่ง.

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริการ (Service Marketing). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2558). ตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เปรมจิต เวียงทอง. (2554). การประเมินกลยุทธ์การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของธนาคารไอเอ็มบี ไทย สาขาเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-Commerce และ Online Marketing. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การจัดการการตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ศศินิภา ทิวาลัย. (2555). การวัดประสิทธิผลด้านการให้บริการของระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ของธุรกิจโรงแรม โดยการใช้แบบจำลองของดีลอนแอนด์แม็คคลีน และอีเมตริก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์, และศุกร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: ทางสู่ความสำเร็จของเอสเอ็มอี. สืบค้น 12 มกราคม 2560, จาก https://www.kasikornresearch.com/TH/KEconAnalysis/Pages

สมพงษ์ ยิ่งเมือง. (2555). ตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสาหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของรีสอร์ท (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สมิต สัชณุกร. (2555). ศิลปะการให้บริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สายธาร.

อัจฉรา ศรีพันธ์. (2558). กลยุทธ์พิชิตใจลูกค้าด้วยซีอาร์เอ็ม (CRM) ในบริบทของการใช้สารสนเทศและเทคโนโลยี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 4(2), 51-62.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2556). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (มุมมองด้านการบริหาร). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Bahrami, M., Ghorbani, M., & Arabzad, M. (2012). Information Technology (IT) as An Improvement Tool For Customer Relationship Management (CRM). Procedia – Social and Behavioral Sciences, 41, 59-64.

Elena, C. Alina. (2015). Social Media – a Strategy in Developing Customer Relationship Management. 3rd Global Conference on Business Economics, Management and Tourism, 26-28 November 2015, Rome, Italy. Procedia Economics and Finance, 39, 785-790.

Khan, A., Ehsan, N., Mirza, E., & Sarwar, S. Z. (2012). Integration between Customer Relationship Management (CRM) and Data Warehousing. Procedia Technology, 1, 239-249

Khodakarami, F., & Chan, E. Y. (2014). Exploring the role of customer relationship management (CRM) systems in customer knowledge creation. Information and Management, 51, 27-42.

Krishna, G. J., & Ravi, V. (2016). Evolutionary computing applied to customer relationship management : A Survey. Engineering Applications of Artificial Intelligence, 56, 30-59.

Mekkamol, P., Piewdang, S., & Untachai, S. (2013). Modeling e-CRM for Community Tourism in Upper Northeastern Thailand. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 88, 108-117.

Park, H., Lee, C., Yoo, C., & Nam, Y. (2016). An analysis of the utilization of Facebook by local Korean governments for tourism development and the network of smart tourism ecosystem. International Journal of Information Management, 36, 1320-1327.

Rahayu, R., & Day, J. (2015). Determinant Factors of E-commerce Adoption by SMEs in Developing Country: Evidence from Indonesia. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 195, 142-150.

Sulaiman, M. A., Abdulah. M. A., & Ridzuan, A. (2014). Customer Relationship Management (CRM) Strategies Practices in Malaysia Retailers. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 130, 354-361.

Tohidi H., & Jabbari, M. M. (2012). CRM in Organizational Structure Design. Procedia Technology, 1, 579-582.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018