การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ, การเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความต้องการและการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการ กับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในชมรม 4) ศึกษา ความช่วยเหลือในการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของชุมชนและสวัสดิการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 5) เสนอรูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้าง สุขภาวะของผู้สูงอายุ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธีใช้การวิจัยเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุสมาชิกชมรมผู้สูงอายุในชุมชนเสนานิคม 2 ชุมชนประชาร่วมใจ 2 ชุมชนนครหลวง และชุมชนหมู่บ้านรุ่งเจริญ จำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและ แบบบอกต่อ ได้แก่ ผู้สูงอายุในชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้นำชมรมผู้สูงอายุ และเจ้าหน้าที่ดูแลชมรมผู้สูงอายุรวมจำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่มตามแนวทางการทำประชาคมระหว่างชุมชนและหน่วยงาน รวมจำนวน 26 คน วิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินงานการเสริมสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุมีความเหมาะสมระดับปานกลาง 2) ความต้องการในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุในชมรมอยู่ในระดับมาก แต่การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการเสริมสร้างสุขภาวะอยู่ในระดับปานกลาง 3) ความต้องการเสริมสร้างสุขภาวะมีความสัมพันธ์ทางบวกขนาดปานกลางกับการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ 4) ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการสังคมในการเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุมีทุกด้าน และ 5) รูปแบบการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของผู้สูงอายุ ได้แก่ การให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมทุกด้านและชมรมผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง
References
นภัสรพี ทองแดง. (2555). แนวทางการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก
นริสา วงศ์พนารักษ์. (2556). การเสริมสร้างสุขภาวะทางจิตในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(2): 160-164.
นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้น้อย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2556). ความรู้เกี่ยวกับประชากรผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังและผลกระทบ. สืบค้น 15 มิถุนายน 2558, จาก www.yru.ac.th/e-journal/file/Napatrapee/old_220.do
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บี แอนด์ บี พับลิคชิ่ง.
ปานหทัย ปานสิทธิ์. (2554). รูปแบบและการดำเนินงานของชมรมผู้สูงอายุใน อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี.
ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตจตุจักร. (2559). จำนวนประชากร 42 ชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตจตุจักร.
พฤกษา บุกบุญ. (2555). สถานการณ์และการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. ใน สุพัตรา ศรีวนิชชากร (บ.ก.), การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. กรุงเทพฯ: ที คิว พี.
พิสิษฐ์ จอมบุญเรือง. (2556). แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเองในจังหวัดนครสวรรค์.วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 8(24), 15-28.
ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์, และยุวดี รอดจากภัย. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 14-20.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ. (2553). ทำเนียบองค์กร ชมรมด้านผู้สูงอายุ พ.ศ. 2553 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Chen, J., Murayama, S., & Kamibeppu, K. (2010). Factors related to well-being among the elderly in urban China focusing on multiple roles. Bio Science Trends, 4(2), 61-71.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว