การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยใช้สื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • วิธิดา สิริทรัพย์เจริญ สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การบริโภคผักและผลไม้, สื่อการเรียนรู้, พฤติกรรมการบริโภค

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ ประชากร คือ นักศึกษาปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 300 คน และกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียและหนังสือเล่มเล็ก แบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ประจำสัปดาห์ แบบทดสอบวัดความรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อ สื่อการเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยวิธี Pair Sample t-test ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้แบบปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง สาเหตุที่นักศึกษาไม่ชอบบริโภคผักและผลไม้ เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของผักผลไม้ แต่หลังจากใช้สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้ นักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้เปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้น 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ก่อนและ หลังการใช้สื่อการเรียนรู้ พบว่า มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ก่อนใช้สื่อ การเรียนรู้นักศึกษาบริโภคผักและผลไม้แบบปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง แต่หลังใช้สื่อ การเรียนรู้นักศึกษาบริโภคผักและผลไม้เพิ่มขึ้นแบบปฏิบัติบ่อย และนักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น ก่อนใช้สื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 10.28 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.76 หลังใช้สื่อการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 16.02 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.39 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อ การเรียนรู้มัลติมีเดียและหนังสือเล่มเล็ก อยู่ในระดับมาก

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชฏาภรณ์ กลิ่นกุหลาบ. (2557). ปัจจัยทำนายการบริโภคผักและผลไม้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชไมพร สอนเทพา. (2555). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อผักสำหรับประกอบอาหารของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธนิกานต์ นับวันดี, นฤมล ศราธพันธุ์, อบเชย วงศ์ทอง, และทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ. (2553). พฤติกรรมการบริโภคผักของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิจัยรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(1), 2-3.

วิสิฐ จะวะสิต. (2557). ผักและผลไม้เพื่อความมั่นคงทางโภชนาการ. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ ครั้งที่ 10. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุขุม พินธ์ณรงค์, และพิมลพรรณ บุญยะเสนา. (2554). การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของเด็กวัยเรียน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒและพัฒนา, 3(5), 170-171.

สุพรรณษา ครุฑเงิน. (2555). สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรื่อง ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2018