รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ Learning Together ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาบริหารธุรกิจ
คำสำคัญ:
ผลการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การจัดการเชิงกลยุทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทั้งก่อนเรียนและ หลังเรียนที่นำรูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Learning Together) มาใช้ ในรายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Learning Together) กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ในรายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ในภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โดยการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน ที่นำรูปแบบการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Learning Together) ใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปริมาณในการทดสอบ โดยใช้เครื่องมือทางสถิติในการศึกษา เป็นรูปแบบของแบบประเมินวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียน และใช้การทดสอบสมมติฐานทางการวิจัยด้วยสถิติ t-test กับประชากร กลุ่มเดียว ประชากรที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการจัดการ ชั้นปีที่ 3 ของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 45 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มประชากรที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือมีความแตกต่างกันระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและ 2) หลังใช้กิจกรรม การเรียนรู้แบบร่วมมือพบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนมากกว่าก่อนเรียน ที่ 17.58 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิตย์ สุวรรณเจริญ. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/209790.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: แนวคิด วิธีการ เทคนิคการสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมเนจเม้น.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหว่าน กราฟฟิค.
เสริมศักดิ์ บุตรทอง. (2547). การจัดการเรียนรู้ของครูสังคมศึกษาเพื่อเสริมสร้างสันติภาพสำหรับผู้เรียนช่วงชั้นที่ 4 สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
โสภา เพ็ชรสังข์. (2558). พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาการบัญชีห้างหุ้นส่วนเรื่องการรับหุ้นส่วนใหม่ของนักเรียนระดับ ปวช. โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบร่วมมือ. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: วิทยาลัยเทคโนโลยีหาดใหญ่อำนวยวิทย์.
Bailey, A. and Heritage, M. (2008). Formative assessment for literacy, grades k-6: Building reading and academic language skills across the curriculum. California: Corwin Press.
Heritage, M. (2010). Formative assessment making it happen in the classroom. California: Corwin Press.
Johnson, D.W. & Johnson R. T. (1991). Learning together and alone. Englewood Cliffs NJ: Prentice-Hall.
Joyce, B., and Weil, M. (1996). Models of Teaching. (5th ed.). Boston: Ally and Bacon Press.
McMillan, J. H. (2008). Formative classroom assessment: The keys to improving student achievement. New York: Teachers College.
Paisan Suwannoi. (2017). Research Based Learning: Research into Research Universities. Journal of Education Khonkaen University, 29(3), 16-26.
Santi Jitradinda. (2017). Instructional design based on Active Learning. Bangkok: Suan Dusit University Press.
Thanomporn Laohajaratsang. (2018). 21st Century Skills for CMU Faculty Development. Chiang Mai: Chiang Mai University Press.
Tisane, K. (2014). Instructional Design: Knowledge for Effective Learning Process. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว