การสร้างเสริมทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุประจำสถานสงเคราะห์คนชรา

ผู้แต่ง

  • พีสสลัลฌ์ ธำรงศ์วรกุล ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วงพักตร์ ภู่พันธ์ศรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การอบรม, ทัศนคติการทำงาน, เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ประจำสถานสงเคราะห์คนชราระหว่างก่อนการอบรมกับหลังการอบรมสร้างเสริมทัศนคติ การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุประจำสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 19 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมอบรมสร้างเสริมทัศนคติการทำงานของเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ ประจำสถานสงเคราะห์คนชรา มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบวัดทัศนคติการทำงาน ของเจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุ มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.66-1.0 มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ Wilcoxon Signed-Rank Test ผลการวิจัยพบว่า เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุประจำสถานสงเคราะห์คนชรามีทัศนคติ การทำงานหลังเข้ารับการอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบทัศนคติการทำงานรายด้าน พบว่า เจ้าหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุมีทัศนคติด้านหน้าที่ การทำงาน ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ และด้านสัมพันธภาพในองค์การ หลังการอบรม สูงกว่า ก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลวีณ์ วุฒิกร. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแลผู้สูงอายุ (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ชมรมเครือข่ายผู้สูงอายุคาทอลิกประเทศไทย. (2555). คู่มือจิตอาสาผู้สูงอายุเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: พีเอสเซอร์วิส.

ชยันต์ ศรีวิจารณ์. (2554). ทัศนคติในการทำงานที่มีผลต่อความภักดีในองค์การ กรณีศึกษา พนักงานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

บรรจง พลไชย. (2554). ทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพและการปฏิบัติงานในชุมชนของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 9(3), 324-335.

บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, วิรัช สงวนวงศ์วาน, สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, ธนกร ลิ้มศรัณย์, สิริวดี ไทยสมัคร และคณิต เรืองขจร. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุกรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านธรรมปกรณ์วัดม่วง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 5(2), 74-92.

ประไพพิศ สิงหเสม, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, มาริสา สุวรรณราช และเนติยา แจ่มทิม. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้, 3(3), 15-34.

พัชรี เรือนศรี, ลินจง โบธิบาล และภารดี นานาศิลป์. (2558). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวกับการดูแลในวาระสุดท้ายของชีวิตในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง. วารสารพยาบาล, 42(2), 24-35.

วิรมณ กาสีวงศ์, ทัศนีย์ บุญเติม และอรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 8(2), 189-195.

วีราภรณ์ บุตรทองดี. (2557). การศึกษาทัศคติต่อการทำงาน องค์การ และความจงรักภักดีของพนักงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงาน ในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2551). ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2555). รูปแบบการจัดการธุรกิจบริการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 6(1), 88-99.

สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์. (2557). ความต้องการการดูแลในระยะสุดท้ายของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(1), 71-88.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์เจอร์นัลพับลิเคชั่น.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุหลักสูตร 420 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Brodaty H., Draper B., &Low L.-F. (2003). Nursing home staff attitudes towards residents with dementia: strain and satisfaction with work. Journal of Advanced Nursing, 44(6), 583–590.

Jones K. R., Pepper G., Hutt E., Scott J., Clark L., & Mellis K. (2004). Improving Nursing Home Staff Knowledge and Attitudes About Pain. The Gerontologist, 44(4), 469–478.

Zimmerman S., Williams C. S., Reed P. S., Boustani M., Preisser J. S., Heck E., & Sloane P. D. (2005). Attitudes, Stress, and Satisfaction of Staff Who Care for Residents with Dementia. The Gerontologist, 45(Special Issue 1), 96–105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019