แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร กิตติมโนรม สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ, สมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะและระดับประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ทำบัญชีกับประสิทธิภาพในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ในเขตกรุงเทพฯ ที่มีตำแหน่งงานตั้งแต่ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีขึ้นไปจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นแบบสอบถาม โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่วนที่ 2 เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interviews) ผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs หัวหน้าสำนักงาน ผู้จัดการสำนักงาน โดยจะสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีตามแนวมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 20 คน โดยการจับฉลากแบ่งเขต 6 เขต เลือกตามสัดส่วนของประชากร

              ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านคุณลักษณะ ด้านทักษะ ด้านความรู้ ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีธุรกิจ SMEs ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ในด้านความรู้ ทักษะ และนำพาไปสู่ความสำเร็จในอาชีพของตนเอง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมรรถนะของผู้ทำบัญชีตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศกับประสิทธิภาพในการทำงาน มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

บุญรวย นะเป๋า. (2556). สมรรถนะตามแนวมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพในการทำงาน: กรณีศึกษา นักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, นนทบุรี.

เบญจวรรณ ตรากิจธรกุล. (2552). คุณภาพของสารสนเทศทางบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของนักบัญชีและประเมินประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ปภาวี สุขมณี และฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2554). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิผลการทำงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEs ในจังหวัดกาฬสินธุ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน, กาฬสินธุ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2550). เอกสารประกอบการสัมมนา. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 2 เรื่อง เนื้อหาของโปรแกรมการศึกษาทางวิชาชีพบัญชี. กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2550). เอกสารประกอบการสัมมนา. มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 3 เรื่อง ทักษะทางวิชาชีพ, กรุงเทพฯ: สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักกำกับดูแลธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์. (2558). กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สืบค้นจาก www.dbd.go.th/trang/ewt_dl_link.php?nid=76.

สุชญา รังสฤษติกุล. (2551). สมรรถนะของผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายบัญชี ตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชีและผู้ปฏิบัติงานบัญชี ของสถานประกอบการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, กรุงเทพฯ.

สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2548). ผลกระทบของความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะบรรษัทภิบาลของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อติภา พลเรืองทอง. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประเภทกิจการสาธารณูปโภค (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1993). Research in Education. (7th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Cohen, J. (1980). Power analysis for the behavioral sciences (2nd Edition). New Jersey: Erlbaum.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins. Publishers.

Internation Accounting Standards Committee (IASC). (2001). Research in Education. Retrievedfrom https://www.iasplus.com/en/resources/ifrsf/history/resources25Best.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introduction Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018