การใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อการออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสมุนไพร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2

ผู้แต่ง

  • ประชิด ทิณบุตร สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • นรรชนภ ทาสุวรรณ สาขาวิชาศิลปกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ทุนทางวัฒนธรรม, การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์, การออกแบบพัฒนารูปลักษณ์ บรรจุภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน, กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน2

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการด้านการออกแบบพัฒนาคุณภาพของตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนด้านสมุนไพร 2) ศึกษาทุนทางวัฒนธรรมด้านทัศนศิลป์ที่ปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ 3) ออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์สินค้าด้านสมุนไพรในเขตพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (จังหวัดชัยนาท จังหวัดลพบุรี จังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง) โดยการใช้ทุนทางวัฒนธรรมเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ และ 4) ประเมินความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อภาพรวมผลงานการออกแบบตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งหมดจำนวน 8 ราย เป็นการศึกษาวิจัยแบบพัฒนาทดลองตามกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ โดยมีการประเมินความพึงพอใจในคุณภาพผลงานการออกแบบ จากตัวแทนของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 กลุ่ม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกและการเลือกแบบบังเอิญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 142 คน เก็บรวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการนำเสนอผลงานแบบกลุ่มย่อยการสอบถามความคิดเห็นทั้งโดยตรงและแบบออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความต้องการผลงานออกแบบกราฟิกตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพทางการออกแบบด้วยการใช้วัจนสัญลักษณ์และอวัจนสัญลักษณ์ 2) ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ด้านศิลปะลวดลายไทยที่ปรากฏในงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดที่เหมาะสม 3) สร้างสรรค์ร่วมกับหน้าที่ใช้สอย ให้ผู้บริโภครับรู้จดจำง่าย มีมูลค่าเพิ่ม เสริมการต่อยอดการผลิตจริงได้ ซึ่งผลงานที่ได้ออกแบบสร้างสรรค์ทั้งหมดนั้น 4) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความเห็นว่าภาพรวมคุณลักษณะของผลงานที่ออกแบบ ด้านการออกแบบตัวอักษรและตัวพิมพ์ ด้านกราฟิกตราสัญลักษณ์ ด้านรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ของสินค้าสมุนไพร ตามกรอบแนวคิดการวิจัย เป็นผลงานการออกแบบที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่พึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ที่ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.66 สามารถเพิ่มมูลค่าแก่ตัวสินค้าและธุรกิจได้จริง

References

กระทรวงวัฒนธรรม. (2560). โครงการสินค้าวัฒนธรรมไทย. สืบค้นจาก https://www.cpot.in.th/aboutus.php

ฐานเศรษฐกิจ. (2560). รัฐบาลไทยผลักดันพืชสมุนไพรไทยเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/content/92179

ประชิด ทิณบุตร. (2557). การออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ส่วนพัฒนาส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชน. (2559). ทุนวัฒนธรรมไทยสู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ. อุตสาหกรรมสาร, 5 (พฤศจิกายน-ธันวาคม), 5–8.

สุชาดา คันธารส และคณะ. (2557). ทางการออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ที่แสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกของจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 5(1), 14-55.

สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย. (2558). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 (ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง). สืบค้นจาก https://www.thaichamber.org/scriptsstratigic.aspTag=7&nShowMag=1&nPAGEID=91

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555–2559. สืบค้นจาก https://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395

หัวหน้างานกลุ่มงานยุทธศาสตร์และเฝ้าระวังวัฒนธรรม. (8 มิถุนายน 2560). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง [สัมภาษณ์].

อนุรักษ์ อาทิตย์กวิน และคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์และการสร้างภาพลักษณ์สินค้าของผู้ประกอบการสินค้าชุมชน ประเภทของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก: กรณีศึกษาโรงงานกิตติโรจน์เซรามิก. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9 (2): 41–48.

Essays, UK. (2013). The importance of brand attributes. Retrieved 10 jul 2018, from https://www.ukessays.com/essays/marketing/the-importance-of-brand-attributes-marketingessay.php?vref=1

Kotler, Philip and Armstrong, Gary. (2014). Principles of Marketing: Global Edition. (15th ed.). Harlow, England: Pearson Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018