อิทธิพลทางตรง ทางอ้อม และผลรวมของผู้ซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดง ที่ผิดกฎหมายในพื้นที่เขตบางกะปิ

ผู้แต่ง

  • พิชศาล พันธุ์วัฒนา ดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

คำสำคัญ:

อิทธิพล, นกปรอดหัวโขนเคราแดง, ผู้ซื้อ, ผิดกฎหมาย

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของคุณลักษณะทั่วไปของผู้ซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงที่ผิดกฎหมายในพื้นที่เขตบางกะปิ และ 2) อิทธิพลของคุณลักษณะทั่วไปของผู้ซื้อ พฤติกรรมนก การเข้าถึงแหล่งซื้อ ราคาเทียบนกถูกกฎหมายที่มีต่อการซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงที่ผิดกฎหมายของผู้ซื้อในพื้นที่เขตบางกะปิ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากผู้ซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงที่ผิดกฎหมายในเขตพื้นที่บางกะปิจำนวน 78 ราย จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้ทฤษฎีติดพื้นที่จากการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม บันทึกความจำ และการสังเกตแบบมีโครงสร้าง

            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทั่วไปของคุณลักษณะทั่วไปของผู้ซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงที่ผิดกฎหมายในเขตพื้นที่บางกะปิเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41–60 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 25,001–35,000 บาท มีประสบการณ์ในการเลี้ยงนก 6–10 ปี เลี้ยงนกที่บ้านไว้ 6–10 ตัว โดยผู้ซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงส่วนใหญ่คิดเห็นว่าราคาของนกผิดกฎหมายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับนกที่ถูกกฎหมาย เช่นนี้ผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขนเคราแดงที่อาศัยในพื้นที่เขตบางกะปิจึงซื้อนกที่ผิดกฎหมายเป็นประจำ และ 2) ตัวแปรคุณลักษณะทั่วไปของผู้ซื้อมีอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อการซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงผิดกฎหมายมากที่สุด ส่วนราคาเทียบนกถูกกฎหมายมีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อการซื้อนกปรอดหัวโขนเคราแดงผิดกฎหมาย

References

กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. (2552). การเพาะขยายพันธุ์นกปรอดหัวโขนเคราแดงภาคเอกชน. (ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจําปี 2552). กรุงเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

กรรณิการ์ สุขเกษม และสุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2558). คู่มือการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ATLAS.ti สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สามลดา.

จริญาภรณ์ ช่วยเรือง และชนิชา ปิยชยันต์. (2555). พฤติกรรมการเลี้ยงและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขจากการเลี้ยงนกกรงหัวจุกของผู้ที่อาศัยอยู่ในตำบลนาชุมเห็ด อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง (วิทยานิพนธ์บัณฑิตศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประภากร ธาราฉาย. (2560). การจัดการและอนุรักษ์นกในธรรมชาติ: นกกับมนุษย์. สืบค้นจาก https://www.as.mju.ac.th/E-Book/t_prapakorn/Birds/MJU_Bird_1_(for_Web).pdf

ราชกิจจานุเบกษา. (2535). พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535. 109(15).

________. (2551). กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบอนุญาตในการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง การครอบครองและการนำเคลื่อนที่เพื่อการค้าสัตว์ป่าคุ้มครองและซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง และการค้าสัตว์คุ้มครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ.2551. 125(23ก).

สีฟ้า ละออง. (2554). การแพร่กระจายของนกปรอดหัวโขนในพื้นที่อนุรักษ์ของประเทศไทย (ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจำปี 2553). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สามลดา.

________. (2556). การใช้สถิติในงานวิจัยอย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

________. (2558). การสร้างมาตรวัดที่ถูกต้องและได้มาตรฐานสากล. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. สืบค้นจาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55A3-16.pdf

สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า. (2554). การเลี้ยงนกกรงหัวจุก. สืบค้นจาก www.dnp.go.th/complain/notify/files/159_121125562554030002.pdf

Arthur, W., Day, E.A., McNelly, T.L., & Edens, P.S. (2006). A meta-analysis of the criterion-related validity of assessment center dimensions. Personnel Psychology, 56, 125-154.

Besnoy, K.D., Dantzler, J., Besnoy, L.R., & Byrme, C. (2016). Using exploratory and confirmatory factor analysis to measure construct validity of the traits, aptitudes, and behaviors scale (TABS). Journal for the Education of the Gifted, 39(1), 3-22.

Bonnycastle, M.M. (2016). Engaging with qualitative data analysis: The metaphor of looking at data like a landscape to explored. Qualitative Report, 20(1), 84-86.

Caspar, R. (2016). Cross-cultural survey guideline: pretesting. Retrieved from https://www.ccsg.isr.umich.edu/images%5cpdfs%5CSGPRetesting.pdf

Creswell, J.W. (2014). Research and design: Qualitative, quantitative and mixed methods approaches. (4th ed.). New Delhi: Thousand Oaks Press.

Engellant, K.A., Holland, D.D., & Piper, R.T. (2016). Assessing convergent and discriminant validity of the motivation construct for the technology integration education (TIE) model. Journal of Higher Education Theory and Practice, 16(1), 37-50.

Friesen, P., Kearns, L., & Redman, D. (2017). Rethinking the Belmont report?. The American Journal of Bioethics, 17(7), 15-21.

Gottfredson, L.S. (1996). Gottfredson’s theory of circumscription and compromise. Retrieved from www1.udel.edu/educ/gottfredson/reprints/1996CCtheory.pdf

Lafave, L., Tyminski, S., Riege, T., Hoy, D., & Dexter, B. (2015). Content validity for a child care self-assessment tool: Creating healthy eating environments scale (CHEERS). Canadian Journal of Dietetic Practice and Research, 77(2), 89-92.

Palinkas, L.A., Horwitz, S.M., Green, C.A., Wisdom, J.P., Duan, N. & Hoagwood, K. (2015).Purposeful sampling for qualitative data collection and analysis in mixed method implementation research. Adm Policy Ment Health, 42(5), 533–544.

Resch, J., Driscoll, A., McCaffrey, N., Brown, C., Ferrara, M.S., & Macciocchi, S. (2013). ImPact test-retest reliability: Reliably unreliable?. Journal of Athletic Training, 48(4), 506-511.

Ryu, E. (2013). Factorial Invariance in multilevel confirmatory factor analysis. British Journal of Mathematical & Statistical Psychology. 67(1), 172-194.

Sato, T., & Ikeda, N. (2015). Test-taker perception of what test items measure: A potential impact of face validity on student learning. Language Testing in Asia, 5(10), 1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018