การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสารโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
คำสำคัญ:
ผลการเรียนรู้, ความสามารถในการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร, รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาษาจีนก่อนและหลัง การใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการพูดภาษาจีน เพื่อการสื่อสารโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ 3) ศึกษาความสามารถในการผลิต ผลงานหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน ต่อรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถในการพูดภาษาจีน เพื่อการสื่อสาร แบบประเมินความสามารถในการผลิตผลงาน และแบบประเมินความคิดเห็น การรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent, One Sample t-test One-Way ANOVA เปรียบเทียบรายคู่ โดยใช้เชฟเฟ่ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง นักเรียนมีผลการเรียนรู้ภาษาจีนสูงกว่าก่อน การทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง นักเรียนมีความสามารถ ในการพูดสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถ ในการผลิตผลงานของนักเรียนหลังการทดลองอยู่ในระดับดีมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) หลังการทดลอง นักเรียนมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด
References
ข่าวออนไลน์ RYT9. (2549). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พ.ศ.2549-2553 กระทรวงศึกษาธิการ. เข้าถึงได้จาก https://www.ryt9.com/s/cabt/69656.
จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2549). รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพสู่การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ปัทมา ชั้นอินทร์งาม. (2556). ผลการเรียนด้วยชุดสื่อประสมร่วมกับกิจกรรมการสอนที่เน้นการพูดที่ส่งผลต่อความสามารถทางการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหอมเกร็ด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรุงเทพฯ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ. (2549). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CRP. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทรธิดา วอนยอดพันธุ์. (2550). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ เรื่องการพูดต่อที่ประชุมของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนบทบาทสมมติกับการสอนแบบปกติ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.
รัตชนก เมืองเชียงหวาน. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม วิชาภาษาจีน โดยบูรณาการข้อมูลท้องถิ่นราชบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
โรงเรียนบางบัวทองราษฏร์บำรุง. (2550). รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2550. นนทบุรี. วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
วาสนา อุตสาหะ. (2555). การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร,กรุงเทพฯ.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2558). วิธีสอนทั่วไป. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.
สือ ยี่. (2550). ผลการสอนโดยใช้เกมที่มีต่อความสามารถในการพูดภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
สุณิสา เกียวกุล. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยวิธีการสอน 4MAT (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
สำนักพัฒนาการจัดการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการพื้นฐาน. (2555). ทักษะการคิดและความสามารถเฉพาะตน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). การประชุมหารือความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีน. สืบค้นจาก https://www.ops.moe.go.th/home/index.php?option=com_content&view=article&id=602:2012-06-18-07-00-42&catid=34:2012-04-27-04-51-31&Itemid=69
Freeman, D. a. R. (1996). Teacher learning in language teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Zhang, J. Jinjun, Qiu, N., & Zhang, J. Jie. (2009). The report of linking research between HSK and Chinese Proficiency Scales for speakers of other languages. ChineseExaminations2009. Foreign Language Teaching and Research Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว