ตัวแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มในรายวิชาทฤษฎีการพัฒนาสังคมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ณรรช หลักชัยกุล สาขาบริหารการพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน, ตัวแบบการจัดการเรียนรู้, การแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจก่อนและหลังเรียน แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และสมาร์ตฟาร์มของนักศึกษา 2) ศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักศึกษา 3) เสนอตัวแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะ การแสวงหาความรู้เป็นกลุ่มของนักศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน รายวิชาทฤษฎีการพัฒนาสังคม (รหัสวิชา 428–283) ในภาค 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบสัมภาษณ์กลุ่มกึ่งโครงสร้างและ แบบสัมภาษณ์เดี่ยวเชิงลึกผู้นำชุมชนในฟาร์มชุมชนดอนรัก ตำบลดอนรัก วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยจำนวนความถี่และค่าร้อยละ สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วย การสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัยและบรรยายแบบเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจหลังเรียนแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่และสมาร์ต ฟาร์มไม่เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนในบางข้อคำถามซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงการจัดการเรียน การสอนในครั้งต่อไปให้ตรงประเด็นและเป็นประโยชน์มากขึ้น 2) กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเกษตรทฤษฎีใหม่เป็นฐาน เรียกว่า “PPAEC & A” ได้แก่ เตรียมโครงงาน วางแผน ปฏิบัติ ประเมินผลและสรุปผล และนำไปประยุกต์ใช้ 3) ตัวแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเกษตร ทฤษฎีใหม่เป็นฐาน ประกอบด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน การเสริมสร้างทักษะ การแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม 8 ด้านและการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความพอประมาณ เหตุผลและภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีและมีคุณธรรมนำความรู้

References

กัลป์ยานี วิชัยศร. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ข่าวภาคใต้. เปิดกิจกรรม ฟาร์มชุมชน ตำบลดอนรัก ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ. [ข่าว] สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2561, https://mgronline.com/south/detail/9600000086652.

ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: เพชรเกษมการพิมพ์.

จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารของนิสิตปริญญาตรี. วารสารวิจัยทางการศึกษา, 8(1), 1-13.

เฉลิมพล ชูสวัสดิกุล. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอีเลิร์นนิ่งโดยใช้โครงงานเป็นฐานผ่านระบบบริหารการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มเมฆที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการเขียนโปรแกรมขั้นประยุกต์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรงุเทพฯ.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์.

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว พัชรา วาณิชวสิน และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2559). ผลของการจัดการ เรียนรู้แบบโครงการเป็นฐานต่อความคิดสร้างสรรค์จของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 1–6.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2547). การพัฒนาการคิดด้วยการทำโครงงาน การพัฒนาผู้เรียน: ความท้าทายโอกาสและบูรณาการ. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการเนื่องในโอกาสคล้ายวันสถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ครบรอบ 36 ปี. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

ราตรี เสนาป่า และรัตน์ติพร สำอางค์. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 รายวิชาฟิสิกส์เรื่องงานและพลังงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. เอกสารการประชุมสัมมนาวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 16, 332-343.

เรวดี รัตนวิจิตร. (2555). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์รายวิชาคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี, จันทบุรี.

รัตนะ บัวสนธ์. (2544). วิจัย และพัฒนาการศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์ พานิช. (2557). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: แอล ที เพรส.

ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศิริญาพร ปรีชา. (2558). การประยุกต์รูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เป็นฐานของสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. การประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุก “นวัตกรรมการเรียนรู้”.

ศิริพร ศรีจันทะ. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 1 ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 127-139.

สมบัติ เผ่าพงษ์คล้าย. (2546). การส่งเสริมความรู้และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โดยการเรียบแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยโครงการเป็นฐานในรายวิชาพัฒนาหลักสูตร สำหรับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 1(1), 1-16.

สุพิน ดิษฐสกุล. (2545). การเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคชันนิสต์ด้วยการทำโครงงานที่เน้นการร่วมมือร่วมพลัง. (ม.ป.ท.): สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย.

สังคม รังทอง. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ทฤษฎีใหม่สู่การเรียนรู้มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องการเพาะเห็ดจากวัสดุท้องถิ่น โดยใช้โครงงาน. (การศึกษาค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

อรอนงค์ เฉียบแหลม. (2560). การเรียนรู้การวางแผนและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้วยโครงการและการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 12(1), 255-272.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw – Hill Company.

Kanokkorn Medtajit. (2015). The Effects of A Program Integrating Goal Setting Into Inquiry Teaching Method on Achievement Motivation and Achievement in Science Subject of Mathayom Suksa 2 Nawarminthrachinuthit Bodindecga School (Bodin 3). Journal of MCU Social Science Review, 4(1), 180-189.

Ladda Silanoi & Angkana Tungkasamit. (2010). The Annual General Meeting of the Development of Learning Activities by Using Project. Faculty of Education, Khon Khaen University.

Sharan,Y. and Sharan, S. (1990). Group Investigation Expands Cooperative Learning. Education Leadership, 47, 17-21.

Suthira Prasertsun. (2012). Research-based Project: New Learning Process of Thai Educaion. Bangkok: The Thailand Research Fund.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-12-2019