การประเมินโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 นนทบุรี

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, กิจกรรมเพื่อสังคม, การประเมินแบบซิป, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในด้าน บริบท ปัจจัย กระบวนการ ผลผลิต และความสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบ 5 ระดับ และการสนทนา กลุ่ม วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ (1) แบบสอบถามวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) ข้อมูลจากการวิเคราะห์เอกสาร และข้อมูลจาก การสนทนากลุ่ม ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบาย ของหน่วยงานต้นสังกัด และปัจจัยมีความเพียงพอเพื่อดำเนินการกิจกรรมตามโครงการ เมื่อประเมินภายหลังจากดำเนินโครงการ พบว่า ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมี ผลการประเมินรายด้าน ดังนี้ (1) ด้านบริบทอยู่ในระดับมาก รายการที่ประเมิน คือ สอดคล้องกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาความรู้และประสบการณ์ของนักเรียน (2) ด้านปัจจัย อยู่ในระดับมาก รายการที่ประเมิน คือ การดำเนินการไม่ขัดแย้งกับกฎระเบียบของราชการ งบประมาณมีความเหมาะสมเพียงพอ (3) ด้านกระบวนการอยู่ในระดับมาก รายการที่ประเมิน คือ กิจกรรมมีความเหมาะสม พัฒนาความรู้และคุณธรรมของนักเรียน หน่วยงานที่ใช้บริการและ ชุมชนให้ความร่วมมือ (4) ด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก รายการที่ประเมิน คือ นักเรียนรู้รักสามัคคี ส่งเสริมการมีจิตสาธารณะของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้ธรรมะ คุณธรรม จริยธรรม พัฒนา คุณธรรมจริยธรรม นักเรียนมีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี นักเรียนสามารถปรับตัวเพื่ออยู่ใน สังคมอย่างมีความสุข และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติ ธรรมะ คุณธรรม และจริยธรรม จิตสาธารณะ รู้รักสามัคคี ลักษณะการเป็นผู้นำ และ ผู้ตามที่ดี และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ในระดับมาก

References

กันยา ลาดปะละ. (2553). การประเมินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2552). จิตพอเพียงที่ยั่งยืน. ใน เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการวิจัยแม่บท: การวิจัยและพัฒนาระบบพฤติกรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

นลินี ณ นคร. (2550). เครื่องมือวิจัย ใน เอกสารการเรียนรู้การทำวิจัยด้วยตนเอง. สถาบันวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา เมฆขำ และคณะ. (2550). การถ่ายทอดแนวทางการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ศักดิ์ชัย นิรัญทวี. (2550). รายงานการประเมินการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

ส่งศักดิ์ ทิตาราม, สรชัย พิศาลบุตร, และเกียรติภูมิ ชูเกียรติศิริ. (2554). ประชากร กลุ่มตัวอย่างและการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาสถิติ วิจัย และการประเมินผลการศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: จตุพรดีไซน์.

สมถวิล วิจิตรวรรณา. (2554). การสร้างเครื่องมือวัดเจตพิสัย ในประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ จี้เพ็ชร์. (2552). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมนักเรียน โรงเรียนวัดตึก (จำลองศิลป์วิทยา). นนทบุรี: โรงเรียนวัดตึก (จำลองศิลป์วิทยา).

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภมาศ อังศุโชติ. (2545). รูปแบบการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประเมินนโยบาย แผนงาน และโครงการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวานิช. (2543). รายงานการวิจัย เรื่อง การวิจัยและพัฒนาระบบการประเมินผลภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2556). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).

Stufflebeam. D. L. (2004). The 21st–century CIPP model origins, development, and use. In M. C. Alkin (Ed), Evaluation roots: Tracing theorists’ views and influences (pp.246-266). California, CA: Sage Publication, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2020