ผลการใช้กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมายที่มีต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ ศรีสำราญ สาขาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาเกษตรศาสตร์
  • อรพรรณ บุตรกตัญญู สาขาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์, อย่างมีจุดมุ่งหมาย, การตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมาย กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-4 ปี จำนวน 25 คน โรงเรียนรัตนบัณฑิตวิทยา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมายที่มี ต่อการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัย แบบประเมินการตระหนักรู้และเข้าใจตนเอง ของเด็กปฐมวัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมี จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้และเข้าใจตนเองของเด็กปฐมวัยมีคะแนนหลังทำกิจกรรม สูงกว่าก่อนการทำกิจกรรมเล่นวัสดุสร้างสรรค์อย่างมีจุดมุ่งหมายทั้งโดยรวมและรายด้าน

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด: แนวทาง สู่การปฏิบัติ เอกสารชุดปฏิรูปการเรียนรู้ลำดับที่ 2 โครงการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุฑาทิพย์ โอบอ้อม. (2556). การพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัย (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งลาวัลย์ ละอำคา. (2557). ทักษะชีวิตของเด็กปฐมวัยแก่นแห่งชีวิตที่เสริมสร้างได้จากครอบครัว. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 33-44. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ลักขณาวดี กันตรี. (2559). การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนกลุ่มชนชาติพันธุ์ในศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา ตำบลเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น,10(2), 240-250.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Mincemoyer, C. C. (2016). Loose Parts: What does this mean?. Retrived August 22, 2018, From https://drive.google.com/file/d/1K3cib3fkmxRnjcveurN6_XpqXFydMuQS/view.

Wilson, P. (2009) Playwork Primer. NY: Alliance for Childhood. WHO. (2008). Life skill education for children and adolescents in school. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-12-2019