การจัดการความรู้ด้านการบริหารจัดการเพื่อสืบสานวัฒนธรรม ทางดนตรีไทยฝั่งธนบุรี: กรณีศึกษาบ้านพาทยโกศล
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, การจัดการวัฒนธรรมทางดนตรีไทยฝั่งธนบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน 2) กระบวนการ แนวทางการบริหารจัดการ 3) พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อการอนุรักษ์และสืบสาน วัฒนธรรมดนตรีไทยฝั่งธนบุรี บ้านพาทยโกศล ดำเนินการวิจัยด้วยวิจัยแบบผสมผสานวิธี และ การวิจัยและพัฒนาร่วมกับกระบวนการจัดการความรู้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การค้นหา องค์ความรู้ ระยะที่ 2 การสร้างความรู้ ระยะที่ 3 การจัดเก็บความรู้ และระยะที่ 4 การแลกเปลี่ยน และแบ่งปันความรู้และการนำความรู้ไปใช้ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือก ผู้บริหารวงดนตรี 2 คน สมาชิกวงดนตรี 25 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบตรวจสอบประสิทธิภาพและความเหมาะสมของสื่อวีดิทัศน์ ผ่านการตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา การสรุปเชิงอุปมาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาความเป็นมาและสภาพปัจจุบันของแหล่งวัฒนธรรม ดนตรีไทยบ้านพาทยโกศล พบว่า วงดนตรีไทยบ้านพาทยโกศลได้เริ่มต้นจากการเป็นวงดนตรีไทย บ้านหลังวัดกัลยาณมิตร วงดนตรีไทยวังบางขุนพรหม วงดนตรีไทยพาทยโกศลเป็นวงดนตรีเดียวกัน แต่ได้เปลี่ยนชื่อวงไปตามยุคสมัย ซึ่งในปัจจุบันเป็นวงดนตรีไทยชาวบ้านในนาม “วงพาทยโกศล” ที่ยังตั้งอยู่ฝั่งธนโดยมีทายาทสืบทอดเป็นรุ่นที่ 8 2) ผลการศึกษาแนวการบริหารจัดการ พบว่า แนวทางการบริหารจัดการส่วนใหญ่เน้นความเป็นศิลป์ตามวิถีศิลปินซึ่งการดำเนินการของวง เป็นไปตามกระบวนการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุมผลจากการบริหารจัดการนั้นมิได้มุ่งเพื่อสร้างผลกำไรแต่มุ่ง สร้างสรรค์ผลงานทางการดนตรีและเป็นการอนุรักษ์สืบสาน 3) ผลจากการการตรวจสอบ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อวีดิทัศน์ พบว่า สื่อวีดิทัศน์ที่พัฒนาขึ้นมีค่าคะแนน IOC เท่ากับ 1.00 ทุกประเด็น และผลการประเมินความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
วิสุทธ์ ไพเราะ. (2551). การบริหารจัดการดนตรีไทยร่วมสมัย กรณีศึกษาวงโจงกระเบน. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2560, จาก
https://www.tci-thaijo.org/index.php/cultural_approach/article/view/19766
สุรพล สุวรรณ และสุพัฒน์ บุณยฤทธิกิจ (บรรณาธิการ). (2554). บ้านพาทยโกศล: แหล่งถ่ายทอด มรดกด้านดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Bartol, K.M. and Martin, D.C. (1991). Management. NewYork: McGraw-Hill, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว