การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (IES) ทักษะทางวิชาชีพบัญชี โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD ในรายวิชาการบัญชีภาษีอากร

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี อินทปันตี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์; มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ, ทักษะทางวิชาชีพบัญชี; การเรียนรู้แบบร่วมมือ STAD; บัญชีภาษีอากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพ บัญชีตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (IES) และความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในวิชาการบัญชีภาษีอากร โดยมีประชากรเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ชั้นปีที่ 4 จำนวน 33 คน ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วยแผนการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้ดีขึ้น พิจารณาจากคะแนนการทดสอบ หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 22.85 สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 12.91 คะแนน 2) ผลสัมฤทธิ์ทางด้าน ทักษะทางวิชาชีพบัญชีเพิ่มขึ้น พิจารณาจากคะแนนวัดทักษะหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.03 คะแนน สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ย 9.70 คะแนน และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิค STAD ในระดับมากทั้งด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนและ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้

References

กนกภรณ์ ทองระย้า. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16) กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2557). มาตรฐานการศึกษาศึกษาระหว่างประเทศ IES ฉบับที่ 3. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2560,จาก http://www.fap.or.th/upload/9414/eq6p8RJwV0.pdf

สมศักดิ์ ภู่วิดาวรรธ์. (2545). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง (พิมพ์ ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

สุชาวดี เดชทองจันทร์. (2558). การศึกษาพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาวิชาการบริหารท้องถิ่น : เปรียบเทียบการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับการเรียนแบบบรรยายปกติ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

อิศรา รุ่งอภิญญา. (2558).การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Johnson, D. W., Johnson, R. T. (1987). Learning together and Alone: Cooperative, Competitive and Individualistic learning. New Jersy: Prentice-Hall.

Slavin, R. E. (1998). Using student team. learning: The Johns Hopkins team learning project: Baltimore: The John Hopkins University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-06-2019